วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน(Constructivism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน(Constructivism)


แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)เป็นทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้คือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพพอร์ท แห่งสถาบันเทคโนโลยีเมสซาซูเซตส์ แนวคิดนี้คือ การเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างพลังการเรียนรู้ในตนเองของผู้เรียน การนำความคิดไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม

ทิศนา  แขมมณี . กล่าวว่า...
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)
ก.      ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ เช่นเดียวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้คือ สาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพเพอร์ท (Seymour Papert) ได้มีโอกาสร่วมงานกับเพียเจต์และได้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นมาใช้ในวงการศึกษา แนวความคิดทฤษฎีนี้คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเอง ไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน จะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ ยังเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ข.      การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน “Consrtuctionusm” จะมีเอกลักษณ์ของตนในการใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุ และอุปกรณ์ต่างๆที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างสาระการเรียนรู้และผลงานต่างๆด้วยตนเอง เพเพอร์ทกล่าวว่า สื่อธรรมชาติและวัสดุทางศิลปะส่วนมากสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในการสร้างความรู้ได้ดีเช่นกัน แม้ว่าผู้เรียนจะมีวัสดุที่เหมาะสำหรับการสร้างความรู้ได้ดีแล้วก็ตาม สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญมากอีกประการหนึ่งก็คือ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี มีส่วนประกอบ 3 ประการคือ                                                    
1.เป็นบรรยากาศที่มีทางเลือกหลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจ เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความชอบและความสนใจไม่เหมือนกัน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำสิ่งที่สนใจทำให้มีแรงจูงใจในการคิด การทำการเรียนรู้ต่อไป
2.เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันอันจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้ ซึ่งจะเอื้อให้มีการช่วยเหลือกันและกัน การ                                     สร้างสรรค์ผลงานและความรู้ รวมทั้งการพัฒนาทักษะทางสังคมด้วย
3.เป็นบรรยากาศที่มีความเป็นมิตร เป็นกันเอง บรรยากาศที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย สบายใจ จะเอื้อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความสุข
การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเองนี้จะประสบผลสำเร็จไดมากน้อยเพียงใด มักขึ้นกับบทบาทของครู ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ในด้านการประเมินผลการเรียนรู้นั้นจำเป็ฯต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการ ซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย

สรุป ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน ด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุ และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในหลายๆด้านตามที่ผู้เรียนมีความชอบและความสนใจในการเรียนวิชาต่างๆที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นความถนัด ความรู้ ความสามารถ ของผู้เรียนเป็นหลัก การเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างพลังการเรียนรู้ในตนเองของผู้เรียน การนำความคิดไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม

อ้างอิง
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซน์ :(http://www.niteslink.net/เข้าถึงเมื่อ 16/07/2555 
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซน์ :http://www.sobkroo.com/ เข้าถึงเมื่อ 16/07/2555 
ทิศนา  แขมมณี .(2554,90).ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เข้าถึงเมื่อ 16/ 07/2555

ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences)


ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences)

(http://www.niteslink.net/)
ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ ประการ คือ
1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย
เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)
สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง

ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences) ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ การ์ดเนอร์ จากมหาวิทยาลัยอาร์วาร์ด ได้ให้คำนิยาม เชาว์ปัญญา” (Intelligence) ได้ว่า หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆหรือการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง
การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ ประการ คือ
1.เชาว์ปัญญาของบุคคลมี ประการด้วยกัน คือ
   เชาว์ปัญญาด้านภาษา
   เชาว์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
   สติปัญญาด้านมิตรสัมพันธ์
   - เชาว์ปัญญาด้านดนตรี

   เชาว์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ
   - เชาว์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น
   เชาว์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
   เชาว์ปัญญาด้านสนความเข้าใจธรรมชาติ
2.เชาว์ปัญญาของแต่ละคนจะไม่อยู่คงที่ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม


ทิศนา  แขมมณี .(2554:85).
กล่าวว่า...
ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)
ก.      ทฤษฎีการเรียนรู้ ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ การ์ดเนอร์ (Gardner) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ให้นิยามคำว่า เชาน์ปัญญา (intelligence) ไว้ว่า หมายถึงความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง รวมทั้งความสามารถในการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ ประการคือ
1.      เชาน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง ประเภทด้วยกัน
2.      เชาน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
ในความมคิดของการ์ดเนอร์ เชาน์ปัญญาของบุคคลประกอบด้วยความสามารถ ประการคือ
1.      ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพการณ์ต่างๆที่เป็นไปตามธรรมชาติและตามบริบททาววัฒนธรรมของบุคคลนั้น
2.      ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพและสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรม
3.      ความสามารถในการแสวงหาหรือตั้งปัญหาเพื่อหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้
เชาน์ปัญญา ด้านตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ มีดังนี้
1.      เชาน์ปัญญาด้านภาษา (linguistic intelligence) ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่า“broca’s area”สติปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน การเขียน การพูดอภิปราย
2.      เชาน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (logical mathematical intelligence) มักจะคิดโดยจะใช้สัญลักษณ์ มีระบบระเบียบในการคิด ชอบคิดวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่างๆให้เห็นชัดเจน
3.      สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (spatial intelligence) ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การใช้สีสร้างสรรค์งานต่างๆและมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ
4.      เชาน์ปัญญาด้านดนตรี (musical intelligence) ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา แต่ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนได้ จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะ การฟังเพลง ดนตรี และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวะต่างๆ
5.      เชาน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (bodily – kines – thetic intelligence) ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่าคอร์เท็กซ์โดยด้านซ้ายควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกขวา และด้านขวาควบคุมการเคลื่อนไหวของร่ากายซีกซ้าย สติปัญญาทางด้านนี้สังเกตได้จากความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย
6.      เชาน์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น(interpersonal intelligence) ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น
7.      เชาน์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง(intrapersonal intelligence) บุคคลที่มีความสามารถในการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณาไตร่ตรอง มองตนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง
8.      เชาน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (naturalist intelligence) เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่างๆรอบตัว บุคคลที่มีความสามารถทางนี้ มักเป็นผู้รักธรรมชาติ
                การ์ดเนอร์เชื่อว่า ในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้จะดูเหมือนว่า ใช้เชาน์ปัญญาด้านหนึ่งด้านใดอย่างชัดเจน แต่แท้จริงแล้วต้องอาศัยเชาน์ปัญญาหลายๆด้านผสมผสานกัน
ข.      การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน แนวทางการนำทฤษฎีพหุปัญญามาใช้ในการเรียนการสอนมีหลากหลาย ดังนี้
1.      เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาน์ปัญญาหลายๆด้าน มิใช่มุ่งพัฒนาแต่เพียงเชาน์ปัญญาด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน หรือความสามารถเฉพาะตนของผู้เรียนไปในตัว
2.      เนื่องจากผู้เรียนมีระดับพัฒนาการในการเชาน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการในแต่ละด้านของผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเด็กที่มีขั้นพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งสูง ควรต้องแตกต่างไปจากเด็กที่มีขั้นพัฒนาการในด้านนั้นต่ำกว่า
3.      เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน การผสมผสานของความสามารถด้านต่างๆที่มีอยู่ไม่เท่ากันนี้ ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน และความแตกต่างที่หลากหลายนี้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
4.      ระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปจากแนวคิดเดิมที่ใช้การทดสอบเพื่อวัดความสามารถทางเชาน์ปัญญาเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ควรมีการประเมินหลายๆด้าน และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาน์ปัญญาด้านนั้นๆ


สรุป  พหุปัญญาเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกกกับการเชาน์ปัญญา โดยการเชาน์ปัญญามีส่วนสำคัญคือสมองที่ใช้ในการควบคุมส่วนต่างๆให้มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้เกิดการเชาน์ปัญญาในหลายๆด้าน การจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนจะส่งเสริมการพัฒนาของสติปัญญาของผู้เรียนได้ดี  การแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง รวมทั้งความสามารถในการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้


อ้างอิง
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซน์(http://www.niteslink.net/)  เข้าถึงเมื่อ16/ 07/2555
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซน์(http://www.sobkroo.com/)  เข้าถึงเมื่อ16/ 07/2555
ทิศนา  แขมมณี .(2554:68).ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เข้าถึงเมื่อ16/ 07/2555

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)

ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัยทฤษฎีกระบวนการทาง

สมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)


   เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองทฤษฎีนี้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จนถึงปัจจุบัน
คลอสเมียร์ ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง

ทิศนา  แขมมณี .(2554:72)
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองทฤษฎีนี้เริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จวบจนปัจจุบัน ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คลอสเมียร์ (klausmeier,1985:52-108) ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้
1.  การรับข้อมูล (input)โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2.  การเข้ารหัส  (encoding)โดอาศัยชุดคำสั่งหรือมซอฟต์แวร์
3.  การสั่งข้อมูลออก(output)โดยผ่านทางอุปกรณ์
       ความรู้ในเชิงเมตาคอคนิชั่นหรือการรู้คิด(metacognitive knowledge)จึงมักประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับบุคคล(person) งาน (task)     และกลวิธี (strategy)ซึ่งประกอบด้อยความรู้ย่อย ๆ ที่สำคัญดังนี้(Garofalo and Lester, 1985: 163-176
1.      ความรู้เกี่ยวกับบุคคล (person)ประกอบไปด้วยความรู้ความเชื่อเกี่ยวกับความแตกต่างภายในตัวบุคคล(intra individual differences) ความแตกต่างระหว่างบุคคล(inter individual differences) และลักษณะสากลของกระบวนการรู้คิด (universals of cognition)
2.      ความรู้เกี่ยวกับงาน (task) ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับขอบข่ายของงานปัจจัยเงื่อนไขของงาน และลักษณะของงาน
3.      ความรู้เกี่ยวกับกลวธ (strategy) ประกอบความรู้เกี่ยวกับกลวธการรู้เฉพาะด้านและโดยรวมและประโยชน์ของกลวิธีนั้นที่มีต่องาน  แต่ละอย่าง ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แพริสและคณะ (paris et al., 1983:293-316)ได้จำแนกความรู้ในเชิงเมตาคอคนิชั่นออกเป็น  ประเภท เช่นเดียวกัน ได้แก่
1.ความรู้ในเชิงปัจจัย (declarative knowledge) คือ ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่องาน
2.ความเชิงกระบวนการ (procedural knowledge) ได้แก่ความรู่เกี่ยวกับกระบวนการและวิธีการต่างๆ ในการดำเดินงาน และ
3.ความรู้เชิงเงื่อนไข (conditional knowledge) ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์  ข้อจำกัด   และเงื่อนไขในการใช้กลวิธีต่างๆและการดํเนินงาน
       ข. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
     ทฤษฎีที่กล่าวไว้ข้างต้น เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนหลายประการดังนี้
1.เนื่องจากการรู้จัก (recognition) มีผลต่อการรับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง  หากเรารู้จักสิ่งนั้นมาก่อน เราก็มักเลือกรับรู้สิ่งนั้น และนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำต่อไป การที่บุคคลจะรู้จักสิ่งใด บุคคลรู้หรือเคยมีประสบการณ์กับสิ่งนั้นมาก่อน
2. เนื่องจากความสนใจ (attention) เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการรับข้อมูลเข้ามาไว้ในความจำระยะสั้น ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน จึงควรจัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน
3. เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านการรับรู้แล้ว จะถูกนำไปเก็บไว้ในความจำ ระยะสั้น ซึ่งนักจิตวิทยาการศึกษาพบว่า จะคงอยู่พียง 10 – 15 วินาทีเท่านั้น ดังนั้นหากต้องการที่จะจำสิ่งนั้นนานกว่านี้ ก็จำเป็นต้องใช้วิธีการต่างๆช่วย
4. หากต้องการจะให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส (encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี
5. ข้อมูลที่ถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำระยะสั้นหรือระยะยาวแล้ว สามารถเรียงออกมาใช้งานด้วยได้โดยผ่าน “effector” ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมทางวาจาหรือการกระทำ ซึ่งทำให้บุคคลแสดงความคิดภายในออกมาเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้
6. เนื่องจากกระบวนการต่างๆของสมองได้รับการควบคุมโดยหน่วยบริหารควบคุมอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเปรียบได้กับโปรแกรมสั่งงาน ซึ่งเป็น “software” ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น การที่ผู้เรียนรู้ตัวและรู้จักการบริหารควบคุมกระบวนการทางปัญญาหรือกระบวนการคิดของตนก็จะสามารถทำให้บุคคลนั้นสามารถสั่งงานให้สมองกระทำการต่างๆอันจะทำให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ได้


สรุป กระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เป็นกระบวนการทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ โดยจะผ่านทางประสาทสัมผัส และผ่านทางอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่มีส่วนในการรับข้อมูล เป็นการประมวลข้อมูลทั้งทางคอมพิวเตอร์และทางสมองของมนุษย์ถึงการคิด ความรู้ ความสามารถของตนในการจัดควบคุมกระบวนการคิด


อ้างอิง
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซน์ (http://www.niteslink.net/) เข้าถึงเมื่อ 16/7/2555
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซน์ (http://www.sobkroo.com/เข้าถึงเมื่อ 16/7/2555
ทิศนา  แขมมณี .(2554:80).ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)

ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงศตวรรษที่ 20ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)

www.niteslink.net/) 
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ สร้างความสนใจ(Gaining attention)
ขั้นที่ แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
ขั้นที่ กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)
ขั้นที่ เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
ขั้นที่ ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
ขั้นที่ ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
ขั้นที่ ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
ขั้นที่ ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
ขั้นที่ ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)


( www.sobkroo.com/ ) 
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน (Eclecticism)

กานเย (Gagne) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธนิยม (Behavior Cognitivist) เขาอาศํยทฤษฎีและหลักการที่หลากหลาย เนื่องจากความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้งบางประเภทมีความวับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง กานเย่ได้จัดขั้นการเรียนรู้ซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธนิยมเข้าด้วยกัน

 การเรียนรู้ของกานเย ((Gagne)
หลักการที่สำคัญของกานเย สรุปดั้งนี้ ((Gagne and Briggs,1974:121-136)
ก.ทฤษฎีการเรียนรู้

1.กานเย (Gagne) ได้จัดประเภทของการเรียนรู้ เป็นลำดับขั้นจากง่ายไปหายากไว้ 8 ประเภท ดังนี้

1.1 การเรียนรู้สัญญาน(signal-learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัติโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ผู้เรียนไม่สามารถบังคับพฤติกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นได้ การเรียนรู้แบบนี้เกิดจากการที่คนเรานำเอาลักษณะการตอบสนองที่มีอยู่แล้วมาสัมพันธ์กับสิ่งเร้าใหม่ที่มีความใกล้ชิดกับสิ่งเร้าเดิม การเรียนรู้สัญญาน เป็นลักษณะการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟ

1.2 การเรียนรู้สิ่งเร้า-การตอบสนอง(stimulus-response)เป็นการเรียนรู่ต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง แตกต่างจากการเรียนรู้สัญญาน เพราะผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้ ผู้เรียนแสดงพฤติกรรม เนื่องจากได้รับแรงเสริม การเรียนรู้แบบนี้เป็นการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงของธอร์นไคด์ และการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (operant conditioning) ของสกินเนอร์ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งท่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำเองมิใช่รอให้สิ่งเร้าภายนอกมากระทำพฤติกรรมที่แสดงออกเกิดจากสิ่งเร้าภายในของผู้เรียนเอง

1.3 การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining) เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและกาตอบสนองที่ต่อเนื่องกันตามลำดับ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ การเคลื่อนไหว

1.4 การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association) เป็นการเรียนรู้ในลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา การเรียนรู้การรับสิ่งเร้า-การตอบสนอง เป็นพื้นฐานของกาเรียนรู้แบบต่อเนื่องและการเชื่อมโยงทางภาษา

1.5 การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning) เป็นการเรียนรู้ทีผสมผสานสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะความแตกต่างตามลักษณะของวัตถุ

1.6 การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีความเหมือนหรือแตกต่างกัน โดยสามารถระบุลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกันได้ พร้อมทั้งสามารถขยายความรู้ไปยังสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากทีเคยเห็นมาก่อนได้

1.7 การเรียนรู้กฎ (rule learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิดรวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น การที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำการเรียนรู้นั้นไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆกันได้

1.8 การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา โดยการนำกฎเกณฑ์ต่างๆ มาใช้ การเรียนรู้แบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดภายในตัวผู้เรียน เป็นการใช้กฎเกณฑ์ในขั้นสูงเพื่อการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน และสามารถนำกฎเกณฑ์ในการแก้ปัญหานี้ไปใช้กับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้

2. กานเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้ 5 ประการ ดังนี้

2.1 สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง (verbal information) เป็นความสามรถในการเรียนรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ โดยอาศัยความจำและความสามารถระลึกได้

2.2 ทักษะเชาว์ปัญญา (intellectual skills) หรือทักษะทางสติปัญญา เป็นความสามารถในการใช้สมองคิดหาเหตุผล โดยใช้ข้อมูล ประสบการณ์ ความรู้ ความคิดในด้านต่างๆ นับตั้งแต่การเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นทักษะง่ายๆไปสู่ทักษะที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้น ทักษะเชาว์ปัญญาที่สำคัญที่ควรได้รับการฝึกคือ ความสามรถในการจำแนก (discrimination) ความสามารถในการคิดรวบยอกเป็นรูปธรรม (concrete concept) ความสามรถในการให้คำจำกัดความของความคิดรวบยอด (defined concept) ความสามารถในการเข้าใจกฎและใช้กฎ (rules) และความสามารถในการแก้ปัญหา (problem solving)

2.3 ยุทธศาสตร์ในการคิด (cognitive strategies) เป็นความสามารถของกระบวนการทำงานภายในสมองของมนุษย์ ซึ่งควบคุมการเรียนรู้ การเลือกรับรู้ การแปลความ และการดึงความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมออกมาใช้ ผู้มียุทธศาสตร์ในการคิดสูง จะมีเทคนิค มีเคล็ดลับในการดึงความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมออกมใช้อย่างมีประสิทธิภาพ สามรารถแก้ปัญหาที่มีสถานการณ์ที่แตกต่างได้อย่างดี รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างสร้างสรรค์

2.4 ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills) เป็นความสามารถ ความชำนาญในการปฏิบัติหรือการใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ ผู้ที่มีทักษะการเคลื่อนไหวที่ดีนั้น พฤติกรรมที่แสดงออกมาจะมีลักษณะรวดเร็ว คล่องแคล่ว และถูกต้องเหมาะสม

2.5 เจตคติ(attitudes) เป็นความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของบุคคลนั้นในการที่จะเลือกกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน

1. กานเย ได้เสนอรูปแบบการสอนอย่างเป็นระบบโดยพยายามเชื่อมโยงการจัดสภาพการเรียนการสอนอันเป็นสภาวะภายนอกตัวผู้เรียนให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ภายใน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในสมองของคนเรา กานเย่อธิบายว่าการทำงานของสมองคล้ายกับการทำงานของคอมพิวเตอร์

2.ในระบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้นั้น กานเย่ได้เสนอระบบการสอน 9 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ (gaining attention) เป็นขั้นที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นทั้งสิ่งยั่วยุภายนอกและแรงจูงใจที่เกิดจากตัวผู้เรียนเองด้วย ครูอาจใช้วิธีการสนทนา ซักถา ทายปัญหา หรือมีวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัว และมีความสนใจที่จะเรียนรู้

ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์ (informing the leaner of the objective) เป็นการบอกให้ผู้เรียนทราบถึงเป้าหมายหรือผลที่จะได้รับจาการเรียนบทเรียนนั้นโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์ในการเรียน เห็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนทำให้ผู้เรียนวางแผนการเรียนของตนเองได้ นอกจากนั้นยังสามารถช่วยให้ครูดำเนินการสอนตามแนวทางที่จะนำไปสู่จุดหมายได้เป็นอย่างดี

ขั้นที่ 3.1 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(stimulating recall of prerequisite learned capabilites) เป็นการทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้ความรู้ใหม่ เนื่องจาการเรียนรู้เป็นกระบวนการต่อเนื่อง การเรียนรู้ความรู้ใหม่ต้องอาศัยความรู้เก่าเป็นพื้นฐาน

ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่ (presenting the stimulus) เป็นการเริ่มกิจกรรมของบทเรียนใหม่โดยใช้วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆที่เหมาะสมมาประกอบการสอน

ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้ (providing learning guidance) เป็นการช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ครูอาจแนะนำวิธีกิจการกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าเป็นการนำทาง ให้แนวทางให้ผู้เรียนไปคิดเอง เป็นต้น

ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฎิบัติ (elciting the performance) เป็นการให้ผู้เรียนลงมือปฎิบัติ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสดงพฤติกรรมตามจุดประสงค์

ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลแอนกลับ(feedback) เป็นขั้นที่ครูใหขอมูลเกี่ยวกับผลการปฎิบัติกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกว่ามีความถูกต้องหรือไม่ อย่างไร และเพียงใด

ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(assessing the perfomance) เป็นขั้นการวัดและประเมินว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียนเพียงใด ซึ่งอาจวัดโดยการใช้ข้อสอบ แบบสังเกต การตรวจผลงาน หรือการสัมภาษณ์ แล้วแต่วาจุดประสงค์นั้นต้องการวัดด้านใด แต่สิ่งสำคัญ คือ เครื่องมือที่ใช้วัดต้องมีคุณภาพ เชื่อถือได้ และมีความเที่ยงตรงในการวัด

ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้ (enhancing retention and transfer) เป็นการสรุป การย้ำ ทบทวนการเรียนที่ผ่านมา เพื่อให้มีพฤติกรรมการเรียนรู้เพิ่มขึ้น กิจกรรมในขั้นนี้อาจเป็นแบบฝึกหัด การให้ทำกิจกรรมเพิ่มพูนความรู้ รวมทั้งการให้ทำการบ้าน ทำรายงาน หรือหาความรู้เพิ่มเติมจากความรู้ที่ได้ในชั้นเรียน





ทิศนา  แขมมณี (2554 : 72)
กล่าวว่า ...


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน (Eclecticism) กานเย (Gagne)
เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธินิยม (Behavior Cognitivist) เขาอาศัยทฤษฎีและหลักการที่หลากหลาย เนื่องจากความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง กานเย ได้จัดขั้นการเรียนรู้ซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธินิยมเข้าด้วยกัน
1.ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย หลักการที่สำคัญๆของกานเยสรุปได้ดังนี้  (Gagne and Briggs,1974: 121 - 136)
ก.ทฤษฎีการเรียนรู้
   1. กานเย ได้จัดประเภทของการเรียนรู้ เป็นลำดับขั้นจากง่ายไปหายากไว้ ประเภท ดังนี้ 
                 1.1 การเรียนรู้สัญญาณ (signal - learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ
                 1.2 การเรียนรู้สิ่งเร้า – การตอบสนอง (stimulus – response learning) เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
                 1.3 การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining) เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองที่ต่อเนื่องกันตามลำดับ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำการเคลื่อนไหว
                 1.4 การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association) เป็นการเรียนรู้ในลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้แบบต่อเนื่องและการเชื่อมโยงทางภาษา
                 1.5 การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆโดยเฉพาะความแตกต่างตามลักษณะของวัตถุ
                 1.6 การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีความเหมือนกันหรือแตกต่างกัน  โดยสามารถระบุลักษณะที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันได้ พร้อมทั้งสามารถขยายความรู้ไปยังสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากที่เคยเห็นมาก่อนได้
                 1.7 การเรียนรู้กฎ (rule learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิดรวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น การที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำการเรียนรู้นั้นไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆกันได้
                 1.8 การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา โดยการนำกฎเกณฑ์ต่างๆมาใช้ การเรียนรู้แบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดภายในตัวผู้เรียน เป็นการใช้กฎเกณฑ์ในขั้นสูงเพื่อการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน และสามารถนำกฎเกณฑ์ในการแก้ปัญหานี้ไปใช้กับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้
            2. กานเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้ ประการ ดังนี้
                  2.1 สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง (verbal information) เป็นความสามารถในการเรียนรู้ข้อเท็จจริงต่างๆโดยอาศัยความจำและความสามารถระลึกได้
                  2.2 ทักษะเชาน์ปัญญา (intellectual skills) หรือทักษะทางสติปัญญา  เป็นความสามารถในการใช้สมองคิดหาเหตุผล โดยใช้ข้อมูล ประสบการณ์ ความรู้ ความคิดในด้านต่างๆนับตั้งแต่การเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ไปสู่ทักษะที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้น
                  2.3 ยุทธศาสตร์ในการคิด (cognitive strategies) เป็นความสามารถของกระบวนการทำงานภายในสมองของมนุษย์ ซึ่งควบคุมการเรียนรู้ การเลือกรับรู้ การแปลความ และการดึงความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมออกมาใช้
                  2.4 ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills) เป็นความสามารถ ความชำนาญในการปฏิบัติ หรือการใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆผู้ที่มีทักษะการเคลื่อนไหวที่ดีนั้น พฤติกรรมที่แสดงออกมาจะมีลักษณะรวดเร็ว คล่องแคล่ว และถูกต้องเหมาะสม
                  2.5 เจตคติ (attitudes) เป็นความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของบุคคลนั้นในการที่จะเลือกกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
        ขหลักการจัดการศึกษา/การสอน
              1. กานเย ได้เสนอรูปแบบการสอนอย่างเป็นระบบโดยพยายามเชื่อมโยงการจัดสภาพการเรียนการสอนอันเป็นสภาวะภายนอกตัวผู้เรียนให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ภายใน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในสมองของคนเรา กานเยอธิบายว่าการทำงานของสมองคล้ายกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
              2. ในระบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้นั้น กานเยได้เสนอระบบการสอน ขั้น ดังนี้
               ขั้นที่ สร้างความสนใจ (gaining attention) เป็นขั้นที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นทั้งจากสิ่งยั่วยุภายนอกและแรงจูงใจที่เกิดจากตัวผู้เรียนเองด้วย
                    ขั้นที่ แจ้งจุดประสงค์ (informing the learner of the objective) เป็นการบอกให้ผู้เรียนทราบถึงเป้าหมายหรือผลที่จะได้รับจากการเรียนบทเรียนนั้นโดยเฉพาะเพื่อให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์ในการเรียน
                    ขั้นที่ กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น (stimu – lating recall of prerequisite learned capabilites) เป็นการทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้ความรู้ใหม่
                    ขั้นที่ เสนอบทเรียนใหม่ (presenting the stimulus) เป็นการเริ่มกิจกรรมของบทเรียนใหม่โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่เหมาะสมมาประกอบการสอน
                    ขั้นที่ ให้แนวทางการเรียนรู้ (providing learning guidance) เป็นการช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ครูอาจแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าเป็นการนำทาง ให้แนวทางให้ผู้เรียนไปคิดเอง เป็นต้น
                    ขั้นที่ ให้ลงมือปฏิบัติ (eliciting the performance) เป็นการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสดงพฤติกรรมตามจุดประสงค์
                    ขั้นที่ ให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) เป็นขั้นที่ครูให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการปฏิบัติกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกว่ามีความถูกต้องหรือไม่อย่างไร และเพียงใด
                    ขั้นที่ ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ (assessing the performance) เป็นขั้นการวัดและประเมินว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียนเพียงใด
                    ขั้นที่ ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้ (enhancing retention and transfer) เป็นการสรุป การย้ำ ทบทวนการเรียนที่ผ่านมา เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ฝังแน่นขึ้น






สรุป 
แนวคิดของกาเย่สามาถนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอนได้โดยตรง โดยการสร้างสถานการณ์หรือเหตุการณ์เพื่อสร้างความตั้งใจแก่ผู้เรียน   เมื่อผู้เรียนเกิดความสนใจและตั้งใจที่จะเรียนแล้ว   ผู้สอนก็แจ้งวัตถุประสงค์ในการเรียนให้แก่ผู้เรียน   โดยพยายามเชื่อมโยงความรู้เดิมที่ได้เรียนมาก่อนหน้ากับความรู้ใหม่ให้เข้ากันได้   จากนั้นก็เสนอบทเรียนใหม่   มีการแนะนำชี้แนวทางในการเรียนเพื่อจะให้เกิดการเรียนรู้  สร้างกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติจริงและแจ้งผลการปฏิบัติงานให้นักเรียนทราบเป็นระยะเพื่อเป็นการประเมิน  และมีการสรุปเสริมบทเรียนเพื่อสร้างความแม่นยำและการถ่ายโยงความรู้ไปใช้กับสิ่ง    อื่น ๆ  ในโอกาสต่อไป   การนำแนวคิดของกาเย่ไปใช้ในสร้างสื่อการสอน  เช่น  การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)   และบทเรียนออนไลน์ (E-learning





อ้างอิง
www.sobkroo.com/ เข้าถึงเมื่อ 16/07/2555 
www.niteslink.net/  เข้าถึงเมื่อ 16/07/2555 
ทิศนา  แขมมณี .(2554:72).ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เข้าถึงเมื่อ 16/07/2555 

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism)

ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงศตวรรษที่ 20ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism)

ทิศนา  แขมมณี (2554 : 68)
กล่าวว่า ...
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม ( Humanism )
นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม ได้ให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง หากว่าบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ ก็จะทำให้มนุษย์มีความพยายาม และสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้
ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ ( Maslow 1962)
ทฤษฎีการเรียนรู้
มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น ก็คือ ขั้นความต้องการทางร่างกาย ( physical need) ขั้นความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ( safety need) ขั้นความต้องการความรัก ( love need) ขั้นความต้องการยอมรับและการยกย่องจากสังคม(esteem need ) และขั้นความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ( self-actualizatasion) หากความต้องการขั้นพื้นฐานได้รับการตอบสนองอย่างพอเพียงสำหรับตนในแต่ละขั้น มนุษย์เราก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นที่สูงขึ้น
มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและมีการพัฒนาตนเองตามประสบการณ์ที่เรียกว่า “ peak experience” จะเป็นประสบการณ์ของบุคคลที่อยู่ในภาวะดื่มด่ำ จากการรู้จักตนเองตรงตามสภาพความเป็นจริง มีลักษณะน่าตื่นเต้น เป็นความรู้สึกดี เป็นช่วงเวลาที่บุคคลเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนี่ง เป็นสภาพที่สมบูรณ์ มีการผสมผสานกลมกลืน และเป็นช่วงเวลาที่แห่งการรู้จักตนเองอย่างแท้จริง ซึ่งบุคคลที่มีประสบการณ์แบบนี้บ่อยๆ จะสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ความป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส ( Rogers,1969)
ทฤษฎีการเรียนรู้
มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาพการณ์ที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศการเรียนที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้ ( supportive atmosphere) และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centeredteaching) โดยที่ครูใช้การสอนแบบชี้แนะ (non-directive) และทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน (facilitator)และการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการ (process learning) เป็นสำคัญ
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ ( Combs)
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้               
ความรู้สึกของผู้เรียนจะมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะว่าความรู้สึก และเจตคติของผู้เรียนจะมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์(Knowles)
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
1. ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน อยู่ในความควบคุมของผู้เรียนแต่ละคน ผู้เรียนจะนำประสบการณ์ ความรู้ ทักษะและค่านิยมต่าง ๆ เข้ามาสู่การเรียนรู้ของตน
3. มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการและด้วยวิธีการที่ตนพอใจ
4. มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน ความเป็นเอกัตบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มนุษย์ควรได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาความเป็นเอกัตบุคคลของตน
5. มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ และเลือกกระทำสิ่งต่าง ๆ ตามที่ตนพอใจ และรับผิดชอบในผลการกระทำนั้น
หลักการจัดการเรียนการสอน
1. การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน รับผิดชอบร่วมกันในกระบวนการเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
2. ในกระบวนการเรียนรู้ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้เรียน นำประสบการณ์ความรู้ ทักษะ เจตคติและค่านิยมต่าง ๆ ของตน เข้ามาใช้ในการทำความเข้าใจสิ่งใหม่ ประสบการณ์ใหม่
3. ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนและวิธีเรียนด้วยตนเอง
4. ในกระบวนการเรียนการสอน ครูควรเข้าใจและส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณสมบัติเฉพาะตน ไม่ควรปิดกั้นเพียงเพราะเขาไม่เหมือนคนอื่น
5. ในกระบวนการเรียนรู้ ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้เรียนตัดสินใจด้วยตนเอง ลงมือกระทำ และยอมรับผลการตัดสินใจหรือการกระทำนั้น
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์(Faire)
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
                 เปาโลแฟร์(Faire) เชื่อในทฤษฎีของผู้ถูกกดขี่ เขากล่าวว่า ผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำ        สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
หลักการจัดการเรียนการสอน
ระบบการจัดการศึกษา ควรเป็นระบบที่ให้อิสรภาพและเสรีภาพในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช(Illich)
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
                 อิวาน อิลลิช(Ivan Illich) ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการล้มเลิกระบบโรงเรียน (Deschooling) ไว้ว่า สังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่
หลักการจัดการเรียนการสอน
                                การจัดการศึกษาไม่จำเป็นต้องทำในลักษณะระบบโรงเรียน ควรจัดในลักษณะที่เป็นการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตตามธรรมชาติ
แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล(Neil)
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
                                นีล(Neil) กล่าวว่า มนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ไปด้วยความรัก มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม
หลักการจัดการเรียนการสอน
                 การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน เรียนเมื่อพร้อมที่จะเรียน จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ






www.niteslink.net/)
        นักคิดกลุ่มมานุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี ทฤษฏีและ แนวคิด คือ
        - ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ 
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง
        - ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ 
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล
        - แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ 
เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จึงเน้นถึงความรู้สึกของผู้เรียนเป็นหลัก การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
        - แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์ 
เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนและวิธีเรียนด้วยตนเอง ลงมือกระทำและยอมรับผลของการตัดสินใจหรือการกระทำของตนเอง
        - แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้อิสรภาพและเสรีภาพในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
        - แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช 
เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่ หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการจัดการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตไปตามธรรมชาติ
        - แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล 
เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ด้วยความรัก มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้ คือ การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน จัดให้เรียนเมื่อพร้อมจะเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ



นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มึความต้องการ นักจิจตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์ รอเจอร์ส โคม ดนเลส์ แฟร์ อิลลิซ  และนีล
1.ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์  (Maslow , 1962)
   มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับชั้น
   มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
2.ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส (Rogers)
   การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย
   ผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพและแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองอยู่แล้ว
   ในการจัดการเรียนการสอนควรเน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ
3.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ (Combs) 
เชื่อว่า ความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
4.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์ (Knowles)
   ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
   การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน
  มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องากร
  มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน
  มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ
5.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ (Faire)
เชื่อว่าในทฤษฎีของผู้ถูกกดขี่ผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า
6.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช (lllich
ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ
7.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล (Neil) กล่าวว่า มนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรีมีความดีโดยธรรมชาติ หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นมีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดี


สรุป กลุ่มมนุษยนิยม ให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์ ทั้งด้านการศึกษาซึ่งทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ได้ดี มีอิสรภาพและเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน ตอบสนองความต้องการพื้นฐานอย่างพอเพียง มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้ตามสภาพความเป็นจริง  ให้ความสำคัญของการเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลได้รับอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์



อ้างอิง
www.sobkroo.com/ เข้าถึงเมื่อ16/ 07/2555
www.niteslink.net/  เข้าถึงเมื่อ16/ 07/2555
ทิศนา  แขมมณี .(2554:68).ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เข้าถึงเมื่อ16/ 07/2555