วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

18.อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข (obstacles and Strategies to solve the problems)


18.อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข (obstacles and Strategies to solve the problems)


McLean,J.(1995:91) กล่าวว่า ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการไว้หลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน
                แนวทางการแก้ไข
อ่านและศึกษาการวิจัยหลายๆตัวอย่างหรืออาจจะศึกษาโดยกรณีตัวอย่างที่เป็นห้องเรียน หรือนักเรียน อาจเปรียบเทียบชั้นเรียนในปีนี้กับชั้นเรียนปีที่แล้ว


http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7%D4%A8%D1%C2%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/%A1%D2%C3%E0%C5%D7%CD%A1%BB%D1%AD%CB%D2.html  ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า เรื่องที่จะเป็นปัญหาวิจัยนั้นจะแตกต่างจากปัญหาอื่นๆ  เนื่องจากการวิจัยเป็นการแสวงหาความรู้หรือคำตอบให้กับปัญหาวิจัย   ดังนั้นปัญหาวิจัยก็คือ สิ่งที่นักวิจัยไม่รู้และสนใจใคร่รู้คำตอบ เมื่อวิจัยแล้วจะได้ผลลัพธ์คือคำตอบของปัญหาหรือความรู้ ปัญหาเช่นนักเรียนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่ได้  ปัญหานักเรียนไม่ตั้งใจเรียน  ปัญหาครูมีหนี้สินล้นพ้นตัว เช่นนี้ไม่ใช่ปัญหาวิจัยเพราะผลลัพธ์จากการปัญหาเช่นนี้ไม่ใช่ข้อความรู้แต่จะเป็นสภาวะที่หมดปัญหา  เช่น นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้  นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น  หรือครูปลอดจากหนี้สิน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาการวิจัยได้  กล่าวคือการที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นอาจจำเป็นต้องมีความรู้อะไรบางอย่างที่เรายังไม่รู้ และความรู้นี้จะได้มาก็ต้องทำวิจัย  คำตอบหรือข้อความรู้จากการวิจัยจะใช้เป็นสารสนเทศประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหาเหล่านั้น

ปัญหาที่นักวิจัยสนใจใคร่รู้คำตอบอาจจะเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น


1.       เกิดความสงสัยในทฤษฎี  ทฤษฎีคือข้อเสนอ (Proposition) ที่เกิดจากการคิดหรือจินตนาการอย่างมีเหตุผลเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ  ความสงสัยในทฤษฎีอาจเกิดจาก
ก.       ความไม่สอดคล้องภายในทฤษฎี เช่น มีแนวคิด (concept) บางอย่างขัดแย้งกัน  ข้อเสนอไม่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน  นักวิจัยจึงต้องทำวิจัยเพื่อทำความเข้าใจกับทฤษฎีนั้นให้กระจ่างยิ่งขึ้น
ข.       ความไม่สอดคล้องกันระหว่างทฤษฎี  ปรากฏการณ์อย่างเดียวกันอาจมีทฤษฎีหรือคำอธิบายมากกว่า 1 ทฤษฎีแล้วแต่มีผู้เห็นว่าปรากฏการณ์นั้นควรจะมีคำอธิบายที่เหมาะสมเป็นอย่างไร  บางครั้งทฤษฎีเหล่านั้นก็ขัดแย้งกันทำนายปรากฏการณ์เรื่องเดียวกันออกมาแตกต่างกัน  ในกรณีเช่นคงต้องมีการหาหลักฐานข้อเท็จจริงมาดูกันให้ชัดเจนว่าทฤษฎีใดถูกทฤษฎีใดผิดหรือว่าผิดทั้งหมด  การวิจัยเพื่อตอบข้อสงสัยลักษณะนี้เรียกว่า การทดสอบเพื่อชี้ขาดทฤษฎี (Crucial test)
ค.       ความไม่สอดคล้องระหว่างทฤษฎีกับข้อเท็จจริง เกิดจากการใช้ทฤษฎีทำนายปรากฏการณ์แล้วคำนายนั้นไม่ตรงกับข้อเท็จจริง  เหตุการณ์เช่นนี้จำเป็นต้องมีการตรวจสอบให้ทราบแน่ว่าทฤษฎีมีความบกพร่องอย่างไร การวิจัยเพื่อหาคำตอบให้กับข้อสงสัยประเภทนี้จะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขทฤษฎีให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ง.        ความสงสัยว่าทฤษฎีนั้นจะสามารถอธิบายปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไปได้หรือไม่  ความสงสัยในทฤษฎีแบบนี้มักจะเกิดขึ้นในศาสตร์ทางสังคมศาสตร์  เพราะทฤษฎีทางสังคมศาสตร์มักจะสร้างขึ้นเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมในสังคมใดสังคมหนึ่ง  ความสงสัยจึงเกิดขึ้นว่าทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์ในสังคมหนึ่งได้ คือมีหลักฐานข้อเท็จจริงในสังคมนั้นยืนยันทฤษฎีอย่างเพียงพอ ทฤษฎีนั้นจะนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ในสังคมอื่นๆ ได้หรือไม่  จำเป็นต้องหาหลักฐานข้อเท็จจริงจากสังคมอื่นๆ มายืนยัน
2.     เกิดจากความขัดแย้งในข้อค้นพบ ในหัวข้อปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจมีผู้สงสัยในประเด็นต่างๆ ได้หลากหลายและได้มีผู้ทำวิจัยหาคำตอบเอาไว้  แต่แทนที่คำตอบเหล่านั้นจะสอดคล้องสนับสนุนกันกลับข้ดแย้งไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน  จึงทำให้เกิดความสงสัยว่าคำตอบที่แน่นอนควรจะเป็นอย่างไร
3.     เกิดจากความขัดแย้งกันในความคิดเห็นหาข้อยุติไม่ได้  ในแวดวงวิชาการหรือสังคมทั่วไปย่อมมีการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ  ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ความคิดเห็นเหล่านั้นเกิดไม่ลงรอยกันและต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลมาสนับสนุนความคิดของตน  แต่ส่วนใหญ่แล้วเหตุผลที่นำมาสนับสนุนก็มักเกิดจากการคิดหรือจินตนาการเอก  นักวิจัยอาจจะเกิดความสงสัยว่าความเห็นของฝ่ายใดจะน่าเชื่อถือกว่ากันจำเป็นต้องหาหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์มายืนยันเพื่อที่จะหาข้อยุติ
4.     เกิดจากความขัดข้องในการปฏิบัติงาน  เช่น การทำงานมีปัญหาอุปสรรค  ทำงานไม่สำเร็จตามเป้าหมาย  ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ   ต้องการจะพัฒนาปรับปรุงการทำงาน  การแก้ปัญหาการปฏิบัติงานเหล่านี้จำเป็นต้องมีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ  จะต้องค้นหาความรู้ที่จะใช้เป็นข้อสารสนเทศประกอบการตัดสินใจ
5.     เกิดความสงสัยว่าข้อค้นพบที่ผ่านมานั้นยังจะคงจริงเช่นนั้นอีกหรือไม่เมื่อเวลาผ่านไป หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องหาคำตอบให้แน่ชัดด้วยการหาหลักฐานข้อมูลใหม่มาพิจารณาอีกครั้ง
6.     เกิดความสงสัยในวิธีการได้มาซึ่งข้อความจากการวิจัยที่ทำมาแล้ว  อาจจะต้องตรวจสอบด้วยวิธีการใหม่ซึ่งได้แก้ไขข้อผิดพลาดของวิธีการเก่าแล้ว หรือมีเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  การทำวิจัย ต้องพยายามหลักเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัยระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่หมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้ กรณีดังกล่าว นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการในการแก้ไข อุปสรรคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อย่าให้ "ความเป็นไปได้" (feasibility) มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้   ยกตัวอย่าง เช่น ต้องการประเมินผล ของโครงการหนึ่ง ซึ่งในแง่รูปแบบ การวิจัยที่เหมาะสมแล้ว ควรใช้ "การวิจัยเชิงทดลองแบบเต็มรูป" (full experimental design) หรือการวิจัยเชิงทดลองที่แท้จริง (true experimental design) หรือ การวิจัยเชิงทดลองแบบคลาสสิค ซึ่งมีการกำหนด (assign) ให้ตัวอย่าง (sample) ไปอยู่กลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุมโดยวิธีสุ่ม แต่บังเอิญ ในทางปฏิบัติ ทำไม่ได้ เนื่องจากปัญหาทางจริยธรรม ก็อาจจำเป็นต้อง ใช้รูปแบบการวิจัย แบบกึ่งกลางการทดลอง (quas-experimetal design) โดยอาจจะ วัดก่นอ ละหลัง การมีโครงการนี้ (before and after) หรือการออกแบบ การติดตามระยะยาว (time series design) โดยมีการวัดหลาย ๆ ครั้ง ทั้งก่อน และหลัง มีโครงการนี้  หรือในการวิจัย เพื่อประเมินประสิทธิผลของยา ผู้วิจัย พยายามจะคิดค้น หามาตรการที่จะ ทำให้ทั้งคนไข้ และผู้รักษา ไม่ทราบว่า ได้รับยาอะไร ที่เรียกว่า "วิธีบอด" (double blind) เช่น การทำให้ยา เหมือนกันทุกประการ แต่ในทางปฏิบัติ บางครั้งทำไม่ได้ ผู้วิจัย จำเป็นต้องระบุ ถึงข้อจำกัดนี้ และเสนอมาตรการ ในการแก้ไข โดยเลือกตัววัด ที่เป็นปรนัย (objective outcome) ซึ่งมีความผันแปรน้อยกว่า ตัววัดที่ได้ จากการบอกเล่า (subjective outcome) และใช้ผู้วัด ที่เป็นอิสระ (independent assessor) ซึ่งไม่เกี่ยวข้อง กับการดูแล รักษาคนไข้ และไม่ทราบว่า คนไข้ อยู่ในกลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุม โดยมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ หวังว่าจะสามารถ ป้องกันอคติ อันอาจจะเกิดขึ้นจาก co-intervention ไปได้ระดับหนึ่ง


สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม (2538:6) กล่าวว่า อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
1) ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คน  สามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
2) ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
3) มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
4) นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
5) ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
แนวทางการแก้ไข 
1) กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
2) สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติเพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
3) ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
4) ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
5) มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง




สรุป :  การทำวิจัย ต้องพยายามหลักเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัยระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่หมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้ กรณีดังกล่าว นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการในการแก้ไข อุปสรรคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อย่าให้ "ความเป็นไปได้" (feasibility) มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้  ยกตัวอย่าง เช่น ต้องการประเมินผล ของโครงการหนึ่ง ซึ่งในแง่รูปแบบ การวิจัยที่เหมาะสมแล้ว ควรใช้ "การวิจัยเชิงทดลองแบบเต็มรูป" (full experimental design) หรือการวิจัยเชิงทดลองที่แท้จริง (true experimental design) หรือ การวิจัยเชิงทดลองแบบคลาสสิค ซึ่งมีการกำหนด (assign)ให้ตัวอย่าง (sample) ไปอยู่กลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุมโดยวิธีสุ่ม แต่บังเอิญ ในทางปฏิบัติ ทำไม่ได้ เนื่องจากปัญหาทางจริยธรรม ก็อาจจำเป็นต้อง ใช้รูปแบบการวิจัย แบบกึ่งกลางการทดลอง (quas-experimetal design) โดยอาจจะ วัดก่นอ ละหลัง การมีโครงการนี้ (before and after) หรือการออกแบบ การติดตามระยะยาว (time series design) โดยมีการวัดหลาย ๆ ครั้ง ทั้งก่อน และหลัง มีโครงการนี้  หรือในการวิจัย เพื่อประเมินประสิทธิผลของยา ผู้วิจัย พยายามจะคิดค้น หามาตรการที่จะ ทำให้ทั้งคนไข้ และผู้รักษา ไม่ทราบว่า ได้รับยาอะไร ที่เรียกว่า "วิธีบอด" (double blind) เช่น การทำให้ยา เหมือนกันทุกประการ แต่ในทางปฏิบัติ บางครั้งทำไม่ได้ ผู้วิจัย จำเป็นต้องระบุ ถึงข้อจำกัดนี้ และเสนอมาตรการ ในการแก้ไข โดยเลือกตัววัด ที่เป็นปรนัย (objective outcome) ซึ่งมีความผันแปรน้อยกว่า ตัววัดที่ได้ จากการบอกเล่า (subjective outcome) และใช้ผู้วัด ที่เป็นอิสระ (independent assessor) ซึ่งไม่เกี่ยวข้อง กับการดูแล รักษาคนไข้ และไม่ทราบว่า คนไข้ อยู่ในกลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุม โดยมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ หวังว่าจะสามารถ ป้องกันอคติ อันอาจจะเกิดขึ้นจาก co-intervention ไปได้ระดับหนึ่ง


อ้างอิง :
สุวิมล ว่องวาณิช.(2544).การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์    ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย.    เข้าถึงเมื่อเมื่อ 29 ธันวาคม 2555
http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7%D4%A8%D1%C2%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/%A1%D2%C3%E0%C5%D7%CD%A1%BB%D1%AD%CB%D2.html เข้าถึงเมื่อเมื่อ 29 ธันวาคม 2555
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม.(2538).หลักการ แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน.  เส้นทางสู้การวิจัยในชั้นเรียน.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ บริษัท บพิธการพิมพ์.    เข้าถึงเมื่อเมื่อ 29 ธันวาคม 2555

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

17.ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits and Application)


17.ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits and Application)

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมไว้ว่า  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย(expected benefits and application)  อธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact)โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง
                
                พจน์ สะเพียรชัย (2516) กล่าวว่า ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ
                
                รวีวรรณ ชินะตระกลู (2540 : 79) กล่าวว่า การทำวิจัยแต่ละเรื่องจะต้องทราบว่าเมื่อทำการเสร็จแล้ว จะนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างไร ซึ่งการใช้ประโยชน์ของงานวิจัยนั้นอาจใช้ได้ในหลายลักษณะ เช่น บางหน่วยงานอาจนำไปใช้ในการจักทำนโยบาย หรือผู้วิจัยอาจนำไปใช้การปรับปรุงการเรียนการสอน หรือเป็นแนวทางในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา หรือทำข้อเสนอแนะ


สรุป ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จากการวิจัย ควรให้ประโยชน์ครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร  เป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง



อ้างอิง :                  
                             http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อวันที่  29  ธันวาคม  2555    
                             พจน์ สะเพียรชัย. หลักเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1. กรุงเทพฯ:
                            วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร, (2516)
                            รวีวรรณ ชินะตระกลู.(2540).วิจัยทางการศึกษา.  กรุงเทพฯภาพพิมพ์ ,
                           

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

16.ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation)/ขอบเขตการวิจัย


16.ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation)/ขอบเขตการวิจัย


                มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์ (2545:222) กล่าวว่า ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการเขียนอธิบายว่าการวิจัยนี้มีข้อจำกัดอะไรที่ทำให้การศึกษาอาจไม่สมบูรณ์ได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความรู้ของผู้วิจัยที่มีเกี่ยวกับหัวเรื่องที่ต้องการจะทำการศึกษา

จำเรียง  กูรมะสุวรรณ (2529:162) กล่าวว่า ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย 
                
        http://w7.thaiwebwizard.com/member/poopla/images/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%89...html  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  การวิจัยแต่ละเรื่องมีขอบเขตมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับงบประมาณและระยะเวลาที่จะทำการวิจัย การกำหนดขอบเขตของการวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยวางแผนการเก็บข้อมูลได้ครอบคลุมและตรงกับความมุ่งหมายของการวิจัยที่ตั้งไว้
ขอบเขตของการวิจัยที่สำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนด มีดังนี้ 

                (1)   ประชากรการวิจัย  หรือกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นใคร  มากน้อยเพียงใด  มีลักษณะพิเศษอย่างไรหรือไม่
                       (2)  ตัวแปรในการวิจัย  ให้แยกเป็นตัวแปรต้น  ตัวแปรตาม  มีอะไรบ้า
                       (3)  การเก็บรวบรวมข้อมูล  เก็บข้อมูลโดยวิธีใด  เวลาใด มีเหตุผลประกอบอะไรบ้าง
                       (4)  เนื้อหาสาระที่ศึกษา

ตัวอย่างการเขียนขอบเขตของการวิจัยที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการวิจัย
         ตัวอย่างที่1 เรื่อง เจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนธุรกิจ สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 5
         ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนธุรกิจในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร และกาญจนบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 4,255 คน
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนธุรกิจในโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 สุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random Sampling) มีขนาดโรงเรียนเป็นชั้นและมีโรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4 โรงเรียน มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 451 คน
          ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อาชีพผู้ปกครอง รายได้ของครอบครัว การมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้าน 
ตัวแปรตาม ได้แก่ เจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ใน 3 ด้าน คือ ด้านคุณประโยชน์ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรม


 สรุป
          1. ขอบเขตการวิจัยที่ต้องกำหนด
            1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
                    ลักษณะของประชากร
                    จำนวนประชากร (ถ้าหาได้)
            1.2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย
                    ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย
                    วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมาย
            1.3 ตัวแปรที่ศึกษา
                  1.3.1  ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นเหตุ
                  1.3.2  ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นผล
          2. ขอบเขตเพิ่มเติม (กรณีงานวิจัยเชิงทดลอง)
                ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
                ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง

อ้างอิง :        
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช(2545),บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์.สถิติ 
และการ วิจัยทางสังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่1)นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จำเรียง  กูรมะสุวรรณ.  สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.  กรุงเทพฯ:สามเจริญพา                     http://w7.thaiwebwizard.com/member/poopla/images/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%89...htm  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 27  ธันวาคม 2555

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

15.ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Considerations)


15.ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Considerations)

           http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
การวิจัยในมนุษย์ จะต้องชอบด้วยมนุษยธรรม จริยธรรม และไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย ต้องมีการวิเคราะห์ เปรียบระหว่างประโยชน์ และโทษ ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ๆ รวมทั้งหามาตรการ ในการคุ้มครองผู้ถูกทดลอง ค้นหาผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งหาวิธีการ ในการป้องกัน หรือแก้ไข เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น ตลอดจนการหยุดการทดลองทันที เมื่อพบว่าการทดลองนั้น อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้
การประเมินปัญหาจริยธรรม มีแนวคิดบางประการ ที่สมควรนำมาพิจารณาดังนี้
1. งานวิจัยนั้นควรทำหรือไม่ ? ทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนหรือคัดค้าน คำถามการวิจัย รูปแบบและระเบียบวิธีวิจัย

2. การวิจัยนี้จำเป็นต้องทำในคนหรือไม่ ? ถ้าจำเป็นต้องทำ ผู้วิจัยมีหลักฐานการวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือการวิจัยอื่น ๆ มายืนยันว่า ประสบผลสำเร็จตามสมควร หรือไม่
3. การวิจัยนั้น คาดว่าจะเกิดผลดีมากกว่าผบเสียต่อตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือไม่
4. ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำวิจัยเป็นอย่างดี และสามารถอธิบายถึงผลดีและผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นได้
5. ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร (informed consent) จากตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี โดยผู้วิจัย ต้องให้ข้อมูลที่ละเอียด และชัดเจนเพียงพอ ก่อนให้ผู้ถูกทดลอง เซ็นใบยินยอม เช่น
ก. อธิบายถึงวัตถุประสงค์ และวิธีการที่จะใช้
ข. อธิบายถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งผลข้างเคียงต่าง ๆ ความไม่สะดวกสบาย ที่อาจจะเกิดขึ้น ระหว่างการทดลองนั้น
ค. ผู้ถูกทดลอง ต้องได้รับการยืนยันว่า มีสิทธิจะถอนตัวออกจากการศึกษา เมื่อไรก็ได้ โดยการถอนตัวนั้น จะไม่ก่อให้เกิดอคติ ในการได้รับการดูแล รักษาพยาบาลต่อไป
ง. ข้อมูลทั้งหลาย จะถูกเก็บเป็นความลับ
6. ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบ ในการดูแล แก้ไข อันตราย หรือผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แก่ผู้ทดลองโดยทันที และต้องปฏิบัติอย่างสุดความสามารถ ทั้งนี้ ต้องเตรียมอุปกรณ์จำเป็น และมีประสิทธิภาพ ในการช่วยเหลือให้ครบถ้วน
7. จำนวนตัวอย่าง (simple size) ที่ใช้ ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงระเบียบวิธีวิจัยที่กล่าวมาแล้ว
8. ในกรณีที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้อาสาสมัคร ต้องระบุด้วยว่า ให้อย่างไร และเป็นจำนวนเท่าไร
โดยทั่วไป การวิจัยในมนุษย์ จำเป็นต้องส่งโครงร่างการวิจัย ให้คณะกรรมการจริยธรรม ของแต่ละสถาบัน หรือของกระทรวงฯ พิจารณา เพื่อขอความเห็นก่อนเสมอ

          ผศ.ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 28) ได้กล่าวไว้ว่า  ปัญหาทางจริยธรรมหรือการผิดจรรยาบรรณ มีการกระทำผิดทั้งผู้ทำวิจัยหรือผู้ขอทุนวิจัยและผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งมีหลายลักษณะดังนี้
1. การตั้งชื่อเรื่อง
- ลอกเลียนแบบชื่อเรื่องงานวิจัยของผู้อื่น
- ตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้หน่วยงานโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
- ผู้ให้ทุนขาดความสามารถในการตั้งชื่อและประเมินชื่อเรื่องงานวิจัย
2. การขอรับทุนสนับสนุน
- งานวิจัยเรื่องเดียวแต่ขอรับทุนหลานแหล่ง
- เปลี่ยนชื่อบางส่วน เช่น เปลี่ยนชื่อจังหวัดแต่เนื้อในเหมือนกันหมดแล้วแยกกันไปขอทุน
- แอบอ้างชื่อนักวิจัยและที่ปรึกษาโครงการ
- การติดสินบนผู้พิจารณา
- ขอทุนแล้วเอาไปจ้างผู้อื่นทำต่อ
- ผู้ให้ทุนให้ทุนโดยเห็นแก่พรรคพวก หรือบอกให้พรรคพวกส่งเรท่องมาแข่งขัน
- ผู้ให้ทุนใช้ความแค้นส่วนตัวแกล้งไม่ให้ผ่านหรือแกล้งวิธีอื่น ๆ เท่าที่จะทำได้
- การตั้งผู้ที่ไม่มีความรู้มาเป็นกรรมการพิจารณาทุนวิจัย
- การพิจารณาทุนมีการเกรงใจกันหรือใช้วิธีการตกลงกันล่วงหน้า (lobby) มาก่อน
3. งบประมาณการวิจัย
- ตั้งงบประมาณสูงเกินจริง และไร้เหตุผล
- ผู้ให้ทุนตัดงบประมาณอย่างไร้เหตุผล
- ผู้ให้ทุนสร้างเงื่อนไขให้เบิกยาก เช่น ใช้ระบบราชการเพื่อแลกกับผลประโยชน์บางอย่าง
4. การทำวิจัย
- แอบอ้างชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัยโดยส่งเครื่องมือไปให้เป็นพิธี
- ไม่ส่งผลงานวิจัยตามกำหนดเวลาที่ขอทุน
- ไม่ได้เก็บข้อมูลจริงใช้วิธีสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ (ยกเมฆ)
- ยักยอกงบประมาณไปใช้ส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานวิจัย
- เร่งรีบทำวิจัยช่วงใกล้ ๆ วันจะส่งผลงานวิจัยทำให้ผลงานวิจัยไม่มีคุณภาพ
- ไม่มีความรู้พอที่จะทำวิจัย
- นำข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างไปเปิดเผย
            - ผู้ให้ทุนไม่มีการติดตามผลการดำเนินการวิจัยของนักวิจัย
5. การเขียนรายงานการวิจัย
- จูงใจ เบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
- เขียนรายงานในสิ่งที่ไม่ได้ทำจริง เช่น ไม่ได้หาคุณภาพเครื่องมือวิจัยแต่เขียนว่าหาคุณภาพเครื่องมือวิจัยพร้อมทั้งรายงานค่าสถิติที่สร้างขึ้นเอง เป็นต้น
- คัดลอกข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง
- นำผลงานวิจัยผู้อื่นมาเปลี่ยนชื่อเป็นของตน
6. การส่งผลงานวิจัย
- ได้ทุนแล้วเมื่อครบกำหนดเงื่อนไขไม่ยอมส่งผลงานวิจัยให้หน่วยงานที่ให้ทุนตามสัญญา
            - ไม่ได้แก้ตามประเด็นที่ตกลงไว้ก่อนรับทุน และผู้ให้ทุนก็ไม่ได้ตรวจ  

           คณะกรรมการผลิตและบริหาร ชุดวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (2545 : 24ได้กล่าวไว้ว่า
1.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้ข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่าง
1) การรวบรวมข้อมูลวิจัยสส่วนใหญ่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งอยู่ในสังคมในภาวะไร้อำนาจ เช่น ผู้ที่มีฐานะยากจน ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ ผู้ที่มีการศึกษาต่ำ ทำให้พวกเขาไม่อยู่ในฐานะที่จะปกป้องสิทธิของตนเอง กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยทางสังคมศาสตร์มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลด้านลบจากการมีส่วนร่วมในการวิจัยดังต่อไปนี้ คือ (1) การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสุขภาพ ทัศนคติ บุคลิกภาพและการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง (2) ประสบการณ์ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดและความกังวล (3) การรวบรวมข้อมูลส่วนตัวซึ่งอาจทำให้เขาได้รับความอับอายหรือต้องมีความรับผิดชอบในทางกฎหมายหากข้อมูลเหล่านั้นถูกนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน (4) ได้รับข้อมูลที่ไม่น่าพึงพอใจเกี่ยวกับตัวเองซึ่งเขาเองอาจไม่ต้องการรับรู้ (5) การล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูลด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความอับอายหรือเป็นอันตรายแก่ผู้ให้ข้อมูล
2) การให้ความยินยอมของผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยควรได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูล โดยการให้ผู้ให้ข้อมูลลงนามในแบบฟอร์มการให้ความยินยอมในการให้ข้อมูล ทั้งนี้แบบฟอร์มดังกล่าวจะต้องระบุถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ภูมิหลังของผู้วิจัย และชี้ให้ผู้ให้ข้อมูลเห็นถึงประเด็นสำคัญ ๆ ของการวิจัย เช่น ประโยชน์ที่เขาจะได้รับ ความเสี่ยงที่อาจมี การให้สัญญาว่าจะแจ้งผลการวิจัยให้ผู้ให้ข้อมูลทราบ ชี้ให้เห็นถึงระดับของความลับของข้อค้นพบจากการวิจัย และที่สำคัญที่สุดจะต้องเน้นประเด็นสำคัญที่ว่าการเข้าร่วมในงานวิจัยเป็นความสมัครใจ การที่ผู้ให้ข้อมูลลงนามในหนังสือแสดงความยินยอมจะเป็นสิ่งยืนยันว่าผู้ให้ข้อมูลรับรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและยินยอมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยโดยไม่มีการบังคับ
3) การให้สิ่งล่อใจ เช่น การให้สินจ้างรางวัลเพื่อเป็นสิ่งล่อใจให้ผู้ให้ข้อมูลให้ความร่วมมือในการวิจัยโดยผู้ให้ข้อมูลไม่ทราบว่าการมีส่วนร่วมในการวิจัย จะมีผลทางลบต่อตนอย่างไร
4) การสอบถามข้อมูลที่มีความอ่อนไหว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับปํญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม และปัญหาโสเภณี ซึ่งอาจทำให้ผู้ให้ข้อมูลอึดอัดหรือกลัวที่จะได้รับอันตราย
5) การรักษาความลับ ผู้วิจัยจะต้องปกปิดข้อมูลที่ได้ไว้เป็นความลับตามที่ได้ให้สัญญาไว้กับผู้ให้ข้อมูล การไม่รักษาความลับของผู้ให้ข้อมูลอาจทำให้ผู้ให้ข้อมูลได้รับอันตราย ถือว่าผู้วิจัยขาดจริยธรรมในการวิจัย 
2.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้วิจัย
1) การหลีกเลี่ยงความมีอคติ ผู้วิจัยควรหลีกเลี่ยงอคติส่วนตน เช่น การเลือกปฏิบัติทางเพศ การเหยียดผิว
2) การให้หรืองดให้การกระทำ (treatment) การวิจัยไม่ควรมีการเลือกปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ต้องการ แต่อาจจะไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ซึ่งเกิดจากการให้หรืองดให้การกระทำบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวิจัยเชิงทดลอง
3) การใช้ระเบียบวิจัยที่เหมาะสม ในการวิจัยควรใช้ระเบียบวิจัยที่เหมาะสมกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษา หากผู้วิจัยไม่มีความชำนาญหรือไม่มีความระมัดระวังพอ ก็อาจทำให้ผลการวิจัยที่ได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรืออาจมีความคลาดเคลื่อนในเชิงข้อเท็จจริงต่าง ๆ
4) การใช้วิธีการปกปิด (covert methods) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลการวิจัย เช่น การปลอมตัว การปกปิดวิธีวิจัย
5) การรายงานผลการวิจัยที่ถูกต้อง การรายงานผลการวิจัยบางครั้งบางครั้งมีการบิดเบือนข้อมูลหรือข้อเท็จจริงบางประการ ซึ่งอาจทำให้ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ สิ่งเหล่านี้ผู้วิจัยไม่ควรกระทำ
6) การนำผลการวิจัยไปใช้ ควรนำแนวทางผลการวิจัยไปในทางที่สร้างสรรค์ และไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น
7) การแบ่งผลงานระหว่างผู้ร่วมวิจัยอย่างเป็นธรรม
3.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย
1) ข้อจำกัดของหน่วยงานที่ให้ทุน หน่วยงานที่ให้ทุนอาจมีข้อจำกัดบางประการซึ่งทำให้การวิจัยอาจมีปัญหาทางด้านจริยธรรมในการวิจัย เช่น การเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะที่จะให้ผลทางด้านบวกต่อการวิจัย การให้หรืองดให้การกระทำ (treatment) บางอย่างในการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งอาจทำให้ผลการวิจัยคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้
2) การนำผลการวิจัยไปใช้ บางครั้งหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัยอาจมีจุดประสงค์ซ่อนเร้น เช่น การให้ทุนวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรือประโยชน์ทางธุรกิจ
4.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังคม
สิทธิของสังคมโดยรวมควรได้รับการปกป้องจากผลการวิจัย ถีงแม้ว่าการวิจัยส่วนใหญ่จะมีประโยชน์ต่อสังคม เช่น การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา สังคม สาธารณสุขและสภาพแวดล้อม แต่การวิจัยบางเรื่องอาจทำให้คนในสังคมบางกลุ่มรู้สึกว่าขัดกับผลประโยชน์ของเขาและอาจปฏิเสธในการให้ข้อมูล เช่น การวิจัยที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมการสูบบุหรี่ การฝ่าฝืนกฎจราจร พฤติกรรมทางเพศ ซึ่งผู้วิจัยก็จะต้องเคารพสิทธิของกลุ่มคนเหล่านั้นด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคมก็ตาม

สรุป
            ปัญหาทางจริยธรรมหรือการผิดจรรยาบรรณ มีการกระทำผิดทั้งผู้ทำวิจัยหรือผู้ขอทุนวิจัยและผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งมีหลายลักษณะดังนี้
1. การตั้งชื่อเรื่อง
- ลอกเลียนแบบชื่อเรื่องงานวิจัยของผู้อื่น
- ตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้หน่วยงานโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
- ผู้ให้ทุนขาดความสามารถในการตั้งชื่อและประเมินชื่อเรื่องงานวิจัย
2. การขอรับทุนสนับสนุน
- งานวิจัยเรื่องเดียวแต่ขอรับทุนหลานแหล่ง
- เปลี่ยนชื่อบางส่วน เช่น เปลี่ยนชื่อจังหวัดแต่เนื้อในเหมือนกันหมดแล้วแยกกันไปขอทุน
- แอบอ้างชื่อนักวิจัยและที่ปรึกษาโครงการ
- การติดสินบนผู้พิจารณา
- ขอทุนแล้วเอาไปจ้างผู้อื่นทำต่อ
- ผู้ให้ทุนให้ทุนโดยเห็นแก่พรรคพวก หรือบอกให้พรรคพวกส่งเรท่องมาแข่งขัน
- ผู้ให้ทุนใช้ความแค้นส่วนตัวแกล้งไม่ให้ผ่านหรือแกล้งวิธีอื่น ๆ เท่าที่จะทำได้
- การตั้งผู้ที่ไม่มีความรู้มาเป็นกรรมการพิจารณาทุนวิจัย
- การพิจารณาทุนมีการเกรงใจกันหรือใช้วิธีการตกลงกันล่วงหน้า (lobby) มาก่อน
3. งบประมาณการวิจัย
- ตั้งงบประมาณสูงเกินจริง และไร้เหตุผล
- ผู้ให้ทุนตัดงบประมาณอย่างไร้เหตุผล
- ผู้ให้ทุนสร้างเงื่อนไขให้เบิกยาก เช่น ใช้ระบบราชการเพื่อแลกกับผลประโยชน์บางอย่าง
4. การทำวิจัย
- แอบอ้างชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัยโดยส่งเครื่องมือไปให้เป็นพิธี
- ไม่ส่งผลงานวิจัยตามกำหนดเวลาที่ขอทุน
- ไม่ได้เก็บข้อมูลจริงใช้วิธีสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ (ยกเมฆ)
- ยักยอกงบประมาณไปใช้ส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานวิจัย
- เร่งรีบทำวิจัยช่วงใกล้ ๆ วันจะส่งผลงานวิจัยทำให้ผลงานวิจัยไม่มีคุณภาพ
- ไม่มีความรู้พอที่จะทำวิจัย
- นำข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างไปเปิดเผย
            - ผู้ให้ทุนไม่มีการติดตามผลการดำเนินการวิจัยของนักวิจัย
5. การเขียนรายงานการวิจัย
- จูงใจ เบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
- เขียนรายงานในสิ่งที่ไม่ได้ทำจริง เช่น ไม่ได้หาคุณภาพเครื่องมือวิจัยแต่เขียนว่าหาคุณภาพเครื่องมือวิจัยพร้อมทั้งรายงานค่าสถิติที่สร้างขึ้นเอง เป็นต้น
- คัดลอกข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง
- นำผลงานวิจัยผู้อื่นมาเปลี่ยนชื่อเป็นของตน
6. การส่งผลงานวิจัย
- ได้ทุนแล้วเมื่อครบกำหนดเงื่อนไขไม่ยอมส่งผลงานวิจัยให้หน่วยงานที่ให้ทุนตามสัญญา
            - ไม่ได้แก้ตามประเด็นที่ตกลงไว้ก่อนรับทุน และผู้ให้ทุนก็ไม่ได้ตรวจ  


อ้างอิง
                 คณะกรรมการผลิตและบริหารชุดวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (2545).
สถิติและการวิจัยสังคมศาสตร์
นนทบรี สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
                 พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544).  ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร ครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.
                  http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

14.การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)



14.การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)


http://e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter8.pdf  ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึงการนําข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ จากกลุ่มตัวอย่างหรือจากประชากรการวิจัยจํานวนหนึ่ง มาจําแนกเพื่อตอบประเด็นปญหาการวิจัย หรือทดสอบ สมมุติฐานการวิจัยให้ครบทุกข้อ  ถ้าข้อมูลเชิงปริมาณหรือเป็นตัวเลข ผู้วิจัยจะใช้วิธีการ ทางสถิติสรุปรวมข้อมูล  แต่ถ้าเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยจะใช้วิธีการสรุปความ หรือ สังเคราะห์ข้อความ  
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นวิธีการวิเคราะห์ที่จะต้องใช้วิธีการทางสถิติ ช่วยสรุปรวมข้อมูล  เพื่อตอบประเด็นปญหาการวิจัยต่างๆ วิธีการทางสถิติแบ่งได้เป็น ประเภทคือ สถิติบรรยาย และสถิติอ้างอิง ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของสถิติแต่ละ ประเภท จะขอกล่าวถึงการใช้วิธีการทางสถิติในการวิจัยก่อนดังนี้
การหาค่าสถิติต่างๆในปจจุบันผู้วิจัยไม่จําเป็นต้องคํานวณหาค่าโดยการแทนค่าลงในสูตร เพราะเรามีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปสําหรับคํานวณหาค่าสถิติต่างๆที่ ผู้วิจัยต้องการได้  โดยที่ผู้วิจัยจะต้องมีมโนทัศน์ (Concept) ดังนี้
1.   ผู้วิจัยต้องเลือกใช้วิธีการทางสถิติให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูล หรือ สมมุติฐานการวิจัย  เช่น ผู้วิจัยต้องมีความรู้ว่าข้อมูลแบบต่อเนื่อง หรือไม่ต่อเนื่องควรใช้สถิติอะไรที่เหมาะสม หรือสมมุติฐานการวิจัยอย่างนี้ควรใช้สถิติอะไร เป็นต้น
2.   ผู้วิจัยต้องอ่านค่าสถิติหรือแปลความหมายค่าสถิติที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ คํานวณมาให้ได้ว่าหมายความอย่างไร เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ที่ได้หมายความว่าอย่างไร  หรือค่าสถิติทดสอบที่ได้ผู้วิจัยจะตัดสินใจปฏิเสธ หรือไม่ปฏิเสธสมมุติฐานการวิจัย เป็นต้น
การวิเคราะห์และการตีความหมายข้อมูล (Analysis and Interpretation of Data) โดย นางกรรณิกา ทิตาราม 
          ข้อมูลที่ทำการเก็บรวบรวม โดยทั่วไปจะมีจำนวนมาก เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก็จะมีการดำเนินกับข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การแยกประเภท การจัดชั้น การสังเขป การหาข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะต่างๆ ของข้อมูล การพิจารณาหาว่าข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้มีความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่นหรือไม่อย่างไร ตลอดจนอาจทำการพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ กระบวนการต่างๆ เหล่านี้เรียกว่า การวิเคราะห์ข้อมูล  ซึ่งจะดำเนินการในรายละเอียดอย่างไรและเพียงไรนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และเรื่องที่ต้องการศึกษา ในบางกรณี การวิเคราะห์ข้อมูลก็ทำโดยใช้กราฟ ดังนั้นเมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าบางขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล เช่นการจัดชั้นหรือแยกประเภทของข้อมูล จะต้องเตรียมวางแผนพร้อมกันไปกับการเก็บรวบรวมและการนำเสนอข้อมูล
          เมื่อข้อมูลได้รับการวิเคราะห์แล้ว ขั้นสุดท้ายของการดำเนินการทางสถิติก็คือ การตีความหมายข้อมูลเหล่านั้น การตีความหมายก็คือ การพิจารณาหาว่าอะไรคือข้อสรุปที่ได้จากการวิเคราะห์ ตัวเลขที่ได้จากการวิเคราะห์ช่วยสนับสนุนหรือปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ และตัวเลขที่ได้จากการวิเคราะห์บอกอะไรบางอย่างใหม่ๆ แก่เราบ้าง
          การตีความหมายข้อมูลเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องด้วยความรู้และเอกสารเกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวข้องมักมีจำกัด ดังนั้นการตีความหมายข้อมูล จึงไม่ควรสรุปลงไปอย่างแน่นอนตายตัวว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ นอกจากนั้นเหตุผลอีกประการหนึ่งที่สนับสนุนการกระทำดังกล่าวนี้ ก็คือตัวข้อมูลเอง ได้เคยกล่าวไว้แล้วว่า ข้อมูลประกอบด้วยข้อเท็จและข้อจริง มิใช่ข้อจริงล้วนๆ และตัวเลขที่ได้จากการวิเคราะห์ก็เป็นเพียงค่าประมาณ ดังนั้นการตีความหมายข้อมูลโดยการสรุปอย่างแน่นอนตายตัว จึงมีโอกาสผิดพลาดได้ง่ายมาก
          อย่างไรก็ตาม การตีความหมายที่ดี ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
          1.  มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะค้นหาความจริงทุกอย่างที่ซ่อนเร้นอยู่ในข้อมูล
          2.  มีความรู้ความเข้าใจอย่างกว้างขวางในเหตุการณ์หรือเรื่องที่กำลังศึกษา
          3.  มีความคิดที่เป็นระเบียบและมีเหตุผลในการทำงาน
          4.  มีความสามารถในการใช้ถ้อยคำที่ชัดเจน ทำให้อ่านเข้าใจได้ง่าย



สรุป :  การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึงการนําข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ จากกลุ่มตัวอย่างหรือจากประชากรการวิจัยจํานวนหนึ่ง มาจําแนกเพื่อตอบประเด็นปญหาการวิจัย หรือทดสอบ สมมุติฐานการวิจัยให้ครบทุกข้อ  ถ้าข้อมูลเชิงปริมาณหรือเป็นตัวเลข ผู้วิจัยจะใช้วิธีการ ทางสถิติสรุปรวมข้อมูล  แต่ถ้าเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยจะใช้วิธีการสรุปความ หรือ สังเคราะห์ข้อความ  
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นวิธีการวิเคราะห์ที่จะต้องใช้วิธีการทางสถิติ ช่วยสรุปรวมข้อมูล  เพื่อตอบประเด็นปญหาการวิจัยต่างๆ วิธีการทางสถิติแบ่งได้เป็น ประเภทคือ สถิติบรรยาย และสถิติอ้างอิง ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของสถิติแต่ละ ประเภท จะขอกล่าวถึงการใช้วิธีการทางสถิติในการวิจัยก่อนดังนี้
การหาค่าสถิติต่างๆในปจจุบันผู้วิจัยไม่จําเป็นต้องคํานวณหาค่าโดยการแทนค่าลงในสูตร เพราะเรามีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปสําหรับคํานวณหาค่าสถิติต่างๆที่ ผู้วิจัยต้องการได้  โดยที่ผู้วิจัยจะต้องมีมโนทัศน์ (Concept) ดังนี้
1.   ผู้วิจัยต้องเลือกใช้วิธีการทางสถิติให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูล หรือ สมมุติฐานการวิจัย  เช่น ผู้วิจัยต้องมีความรู้ว่าข้อมูลแบบต่อเนื่อง หรือไม่ต่อเนื่องควรใช้สถิติอะไรที่เหมาะสม หรือสมมุติฐานการวิจัยอย่างนี้ควรใช้สถิติอะไร เป็นต้น
2.   ผู้วิจัยต้องอ่านค่าสถิติหรือแปลความหมายค่าสถิติที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ คํานวณมาให้ได้ว่าหมายความอย่างไร เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ที่ได้หมายความว่าอย่างไร  หรือค่าสถิติทดสอบที่ได้ผู้วิจัยจะตัดสินใจปฏิเสธ หรือไม่ปฏิเสธสมมุติฐานการวิจัย เป็นต้น
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยไม่ใช้สถิติ ทำนองนี้ ดังนี้
1 . การวิเคราะห์เอกสาร  ( Documentary  Analysis ) ใช้ในการวิจัยเอกสารและวิเคราะห์เกี่ยวกับเนื้อหา  ( content ) ในเอกสาร
2 . การวิเคราะห์โดยสังเกต  โดยสังเกตพฤติกรรม / เหตุการณ์ที่อยู่ในสังคมแล้วผู้วิจัยแปลความหมายเอง  สรุปความเอง วิเคราะห์เอง
        การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านสังคมศาสตร์นั้นต้องมีการเชื่อมโยงความรู้อื่น ๆ ดังนี้
1 . ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์
2 . ความรู้ด้านชุมชน  สังคม  วัฒนธรรม
3 . ความรู้ทางปรัชญาและศาสนาเพื่ออธิบายสรุปนามธรรมจากข้อมูลที่ปรากฏในรูปธรรมได้ด้วย


อ้างอิง :
http://e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter8.pdf    เข้งถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2555
ณรงค์  โพธิ์พฤกษานันท์ ( 2551 : 223-224 )      เข้งถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2555