วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

มารยาทที่ไม่ควรกระทำบนสังคมออนไลน์


        ปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมทุกวันนี้อาจดูแหว่งวิ่นไปบ้าง คนออฟฟิศเดียวกัน ยืนอยู่ใกล้ๆ กันอาจไม่ได้คุยกัน พ่อแม่ลูกอยู่บ้านเดียวกันก็อาจไม่ได้คุยกัน เพื่อนที่นั่งตรงข้ามกันก็ไม่เงยหน้าขึ้นมาคุยกันฯลฯ ทั้งหมดเหล่านี้เป็นเพราะส่วนหนึ่งของเวลาที่เรามีถูกย้ายไปทำการอยู่บนสังคมออนไลน์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
        เมื่อสังคมออนไลน์กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น วันนี้เราจึงนำมารยาท และสิ่งที่ไม่ควรกระทำบนสังคมออนไลน์มาฝากกัน จะมีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลยค่ะ
       
       1.ไม่ควรโพสต์ภาพอาหารยั่วยวนใจบ่อยๆ
       
       คนเล่นเฟซบุ๊กหลายคนอาจปฏิเสธว่าไม่จริง เราออกจะชอบดูภาพอาหาร ยิ่งหน้าตาชวนกินยิ่งชอบ แถมถ้าบอกร้านมาด้วยจะตามไปชิมเมนูที่โพสต์แน่ๆ แต่ก็อย่าลืมว่าในจำนวนเพื่อนในเฟซบุ๊กนั้นอาจมีคนที่กำลังลดน้ำหนัก เป็นเบาหวาน ความดันสูง โรคหัวใจ หรือถูกสั่งห้ามกินอาหารหน้าตาอร่อยๆ แบบที่คุณกำลังโพสต์ และภาพเหล่านั้นก็จะยิ่งบาดตาบาดใจพวกเขาจนพากันกด Like ให้ภาพของคุณไม่ได้
       
       2.ไม่ควรกด Like พร่ำเพรื่อ
       
       เพราะเพื่อนในเฟซบุ๊กมีหลายประเภท ทั้งเพื่อนที่ทำงาน เพื่อนชาวต่างชาติ เพื่อนสมัยเรียนประถม ที่จากกันไปนาน และเพิ่งมีโอกาสได้เจอกันอีกครั้ง หรือเพื่อนห่างๆ ที่แอดไว้ตั้งนานนมแล้วแต่ไม่ได้สานสัมพันธ์ใดๆ กันต่อ ดังนั้น การคลิก Like ไปทั่วกระทั่งในเรื่อง - ภาพของเพื่อนที่เราห่างเหินมานาน ไม่รู้ตื้นลึกหนาบางใดๆ ในชีวิตเขาในตอนนี้ ก็อาจถูกตีความว่าเราเสแสร้ง ไม่จริงใจได้
       
       3.ไม่โพสต์เรื่องส่วนตัวบนวอลล์คนอื่น
       
       มีช่องทางอีกมากสำหรับคนสองคนที่ต้องการจะสื่อสารเรื่องส่วนตัวของกันและกัน ส่งแมสเซจก็ได้ ส่งเมลก็ได้ ส่ง SMS ก็ได้ คุยทาง MSN ก็ได้ แต่ไม่ใช่การมาโพสต์บนหน้าวอลล์ส่วนตัว เพราะเพื่อนๆ ของเจ้าของวอลล์คนนั้นจะร่วมรับรู้รับทราบทั้งหมด ทั้งๆ ที่พวกเขาไม่ควรจะต้องมารู้ด้วยเลย และนั่นอาจไม่ดีต่อตัวคุณในที่สุดที่ดูเป็นคนไม่มีมารยาท
       
       4.ไม่โพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับเซ็กซ์
       
       ถ้าไม่นับแก๊งของหนุ่มๆ ในออฟฟิศบางแห่งที่นิยมแชร์ภาพสาวสวยกันแล้ว การที่คนเราจะโพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับเซ็กซ์ลงบนสังคมออนไลน์ก็อาจทำให้เพื่อนๆ คนอื่นของคุณกระอักกระอ่วนใจได้ ยิ่งหากเป็นกิจกรรมทางเพศของตัวคุณเองด้วยแล้วยิ่งไม่เหมาะสมอย่างมาก
       
       5.ไม่แท็กเรื่อยเปื่อย
       
       อย่าอัปโหลดทุกภาพที่มีในกล้อง และควรพิจารณาองค์ประกอบในภาพนั้นก่อนว่าดีพอหรือไม่ที่จะโพสต์ออกไป นอกจากนั้น สาวๆ หลายคนอาจเลิกคบกับคุณแน่ๆ ถ้าคุณแท็กภาพที่คุณดูดีสุดๆ แต่เพื่อนสาวที่อยู่ในภาพไม่ได้ดูดีเท่า ดังนั้น หากมีภาพดังกล่าวอยู่ ลองถามตัวเองว่า ถ้าคุณเป็นคนที่กำลังทำหน้าตลกๆ หรือนั่งพุงย้อย คุณจะยังโพสต์ภาพนั้นให้สังคมออนไลน์ร่วมรับรู้หรือไม่
       
       6.ไม่ใช้เฟซบุ๊กสะกดรอยคนอื่น
       
       คนบางคนก็ใช้เฟซบุ๊กในการสืบทราบข่าวคราวความเป็นไปของคนอื่่น เช่น อดีตแฟน สาวคนใหม่ของอดีตแฟน คนที่เราแอบชอบ คนที่เราเกลียด คนที่มายุ่งกับแฟนเรา ซึ่งขอบอกว่าการแอบล้วงข้อมูลเหล่านี้เป็นการกระทำที่เสียเวลาและเสียพลังงานมากทีเดียว
       
       7.ไม่โพสต์ข้อความกล่าวร้ายคนอื่น
       
       คนบางคนเลิกคบกันก็เพราะการโพสต์จิกกัดกันนี่เอง และควรจะเลิกคิดใช้เฟซบุ๊กโพสต์ข้อความกล่าวร้ายคนอื่นโดยเด็ดขาด เพราะข้อความที่คุณโพสต์จะเห็นกันได้ทั่วไป และอาจผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งคู่กรณีอาจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากคุณได้ด้วย
       
       8.ไม่ควรโพสต์เรื่องทุกอย่างรอบตัว
       
       เพราะบางคนโพสต์ทุกเรื่องในชีวิตลงไปบนเฟซบุ๊ก ทั้งร้านอาหาร ครอบครัว เพื่อนฝูง จนเพื่อนๆ ในลิสต์รับทราบความเป็นไปของเธอตลอดเวลา แล้วแบบนี้จะเหลืออะไรไว้ให้คุยกันเมื่อยามพบหน้า ลองหยุดโพสต์ดูบ้างอาจทำให้ชีวิตของคุณน่าค้นหายิ่งขึ้น
       
       9.ไม่โพสต์ภาพตัวเองถูกทำร้าย
       
       ใครก็ตามที่กล้าโพสต์รูปตัวเองถูกทำร้ายลงบนโลกออนไลน์ รับรองว่า เป็นเรื่องกระหึ่มแน่นอน หรือแม้จะเป็นภาพอาการบาดเจ็บที่น่าหวาดเสียวก็เช่นเดียวกัน เช่น ภาพนิ้วถูกมีดบาดจะขาดมิขาดแหล่ ฯลฯ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะเห็นภาพนั้น แม้ว่าเขาเห็นแล้วจะรู้สึกเสียใจ สลดใจไปกับคุณด้วยก็ตาม
       
       10.ไม่โพสต์นินทาเจ้านายหรือที่ทำงาน
       
       เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ไม่ควรทำ หากต้องการโพสต์จริงๆ ก็ตั้งกลุ่มลับเฉพาะกันไป อย่าโพสต์ออกมาในที่สาธารณะและเพื่อนๆ ในลิสต์ทุกคนสามารถรับรู้ได้ เพราะมันจะไม่ดีต่อตัวคุณและต่อองค์กรที่ทำงานอยู่ รวมถึงเจ้านายในอนาคตของคุณด้วย เพราะเจ้านายเดี๋ยวนี้ก็เช็กประวัติคนที่จะรับเข้าทำงานจากเฟซบุ๊กกันบ้างแล้วเช่นกัน
       
       ทั้งหมดนี้จึงอาจเป็นรูปแบบการใช้งานที่ควรหลีกเลี่ยง หรือเลือกใช้ให้เหมาะสมสำหรับท่านที่ต้องการมีตัวตนอยู่บนสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัยนั่นเอง

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

22.ภาคผนวก (Appendix)


22.ภาคผนวก (Appendix)

ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า   ภาคผนวก (Appendix) คือ ส่วนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องใน วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ นำมาแสดงประกอบไว้เพื่อให้ วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก่อนรายการภาคผนวกให้มีหน้าบอกตอนภาคผนวก



           http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก  ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่

           http://www.med.cmu.ac.th/research/facfund/finalReport.htm  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
ภาคผนวกเป็นส่วนที่ผู้เขียนได้นำมากล่าวเพิ่มเติมในรายงานวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจสาระในงานวิจัยมากยิ่งขึ้น ภาคผนวกอาจเป็นรูปข้อความจากเอกสาร อักษรย่อ รายละเอียดบางวิธี สูตรน้ำยาเคมี หรือแผนที่ก็ได้ หน้าแรกของภาคผนวกให้ขึ้นหน้าใหม่ และมีคำว่า "ภาคผนวก" (Appendix) อยู่ตรงกลางและตรงกลางบรรทัดบนสุดของหน้าถัดไปให้เขียนคำว่า "ภาคผนวก ก." ถ้าเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Appendix A" และหากมีมากกว่า 1 ผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่ทุกครั้งโดยให้ลงหัวเรื่องเรียงตามลำดับอักษร เช่น ผนวก ก. (Appendix A) ผนวก ข. (Appendix B) ผนวก ค. (Appendix C) ในสารบัญให้ลงด้วยรายการของแต่ละผนวกไว้ด้วย โดยเฉพาะหัวเรื่องเท่านั้น

           สรุป
           ภาคผนวกเป็นส่วนที่ผู้เขียนได้นำมากล่าวเพิ่มเติมในรายงานวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจสาระในงานวิจัยมากยิ่งขึ้น ภาคผนวกอาจเป็นรูปข้อความจากเอกสาร อักษรย่อ รายละเอียดบางวิธี สูตรน้ำยาเคมี หรือแผนที่ก็ได้ หน้าแรกของภาคผนวกให้ขึ้นหน้าใหม่ และมีคำว่า "ภาคผนวก" (Appendix) อยู่ตรงกลางและตรงกลางบรรทัดบนสุดของหน้าถัดไปให้เขียนคำว่า "ภาคผนวก ก." ถ้าเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Appendix A" และหากมีมากกว่า 1 ผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่ทุกครั้งโดยให้ลงหัวเรื่องเรียงตามลำดับอักษร เช่น ผนวก ก. (Appendix A) ผนวก ข. (Appendix B) ผนวก ค. (Appendix C) ในสารบัญให้ลงด้วยรายการของแต่ละผนวกไว้ด้วย โดยเฉพาะหัวเรื่องเท่านั้น

อ้างอิง
http://www.sara-dd.com/index.php?option=com_content&view=article&id=47:-research-thesis&catid=34:-thesis-research&Itemid=76  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2556
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2556
http://www.med.cmu.ac.th/research/facfund/finalReport.htm  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2556

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

21.เอกสารอ้างอิง (References)


21.เอกสารอ้างอิง (References)


          http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
ในวิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่อง จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก (การเขียน เอกสารอ้างอิง ให้อนุโลม ตามคู่มือ การพิมพ์วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย)
การเขียนเอกสารอ้างอิงตาม "Vancouver Style"
ให้เรียบลำดับ ด้วยนามสกุล ของผู้เขียน ตามด้วยอักษรย่อ ของชื่อต้น และชื่อกลาง ทุกคน แต่ถ้าผู้เขียน มากกว่า 6 คน ให้เขียนเพียง 6 คน แล้วตามด้วย et al


            http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย  จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style

            http://library.cmu.ac.th/rsc/?writereport.php&contid=3  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การอ้างอิงทางบรรณานุกรม หมายถึง รายการเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่ผู้ผลิตผลงานทางวิชาการใช้อ้างอิงในเอกสารผลงานของตน การแสดงรายการทางบรรณานุกรมไว้ที่ผลงานของท่านจึงนับเป็นการให้ความเคารพผลงานทางปัญญาที่ผู้อื่นได้แสดงไว้ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการแสดงที่มาที่ไปขององค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ ทำให้ผู้สนใจสามารถติดตามพัฒนาการของเรื่องนั้นได้ ในโอกาสหน้า
การแสดงรายการทางบรรรณานุกรมสามารถทำได้หลายรูปแบบ หลักสำคัญในการเลือกรูปแบบการลงรายการคือ การเลือกใช้รูปแบบที่เป็นที่นิยมในแต่ละสาขาวิชา หรือสถาบัน การเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งนั้น ผู้เลือกใช้ต้องเลือกใช้เพียงแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ไม่ควรนำรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาผสม หรือประยุกต์ใช้ปนกัน
หลักการเลือกรูปแบบการลงรายการ
1. หากเป็นนักศึกษา ควรสอบถามจากผู้สอนว่าต้องการให้ใช้รูปแบบใด แล้วเลือกใช้แบบที่แนะนำนั้น
2. หากผู้สอนไม่ระบุรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ให้เลือกรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นสากล หรือนิยมใช้กันทั่วไป ซึ่งสามารถตัดสินใจเลือกโดยพิจารณาจากสาขาวิชาที่ท่านสังกัดอยู่แป็นแนวทาง เช่น
    1) APA (American Psychological Association) เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชา จิตวิทยา การศึกษา และสาขาสังคมศาสตร์อื่นๆ
    2) AMA (American Medical Association) เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางชีววิทยา
    3) Chicago เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในทุกสาขาวิชา นิยมใช้ในการลงรายการหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่อ้างอิงเป็นเอกสารที่ไม่เป็นวิชาการมากนัก
    4) MLA (Modern Language Association) หรือ เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชา วรรณกรรม ศิลป และสาขามนุษยศาสตร์
    5) Turabian เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชาทั่วไปในระดับวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย
    6) Vancouver เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่นิยมใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์
3. เลือกใช้รูปแบบของสถาบันกำหนด (ถ้ามี) ซึ่งส่วนใหญ่ศึกษาได้จาก คู่มือการลงรายการบรรณานุกรมเอกสารวิชาการเพื่อการสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิทยานิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ ซึ่งมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้กำหนดรูปแบบการลงรายการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสถาบัน เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ ทั้งนี้ แต่ละสถาบันต่างประยุกต์จากรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรมที่เป็นสากล




           สรุป
           การอ้างอิงทางบรรณานุกรม หมายถึง รายการเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่ผู้ผลิตผลงานทางวิชาการใช้อ้างอิงในเอกสารผลงานของตน การแสดงรายการทางบรรณานุกรมไว้ที่ผลงานของท่านจึงนับเป็นการให้ความเคารพผลงานทางปัญญาที่ผู้อื่นได้แสดงไว้ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการแสดงที่มาที่ไปขององค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ ทำให้ผู้สนใจสามารถติดตามพัฒนาการของเรื่องนั้นได้ ในโอกาสหน้า
การแสดงรายการทางบรรรณานุกรมสามารถทำได้หลายรูปแบบ หลักสำคัญในการเลือกรูปแบบการลงรายการคือ การเลือกใช้รูปแบบที่เป็นที่นิยมในแต่ละสาขาวิชา หรือสถาบัน การเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งนั้น ผู้เลือกใช้ต้องเลือกใช้เพียงแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ไม่ควรนำรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาผสม หรือประยุกต์ใช้ปนกัน



อ้างอิง
http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556
http://library.cmu.ac.th/rsc/?writereport.php&contid=3  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

20.งบประมาณ (Budget)


20.งบประมาณ (Budget)

  http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
        12.1 เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
        12.2 ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
        12.3 ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
        12.4 ค่าครุภัณฑ์
        12.5 ค่าประมวลผลข้อมูล
        12.6 ค่าพิมพ์รายงาน
        12.7 ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบ
                  โครงการแล้ว
        12.8 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
        อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน  ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย  เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก


          http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf   ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
การคิดงบประมาณ ควรยึดแผนการดำเนินงาน และตารางปฏิบัติงาน เป็นหลัก โดยวิเคราะห์ ในแต่ละกิจกรรมย่อย ว่าต้องการทรัพยากร อะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ต้องการตอนไหน ซึ่งตามปกติแล้ว ควรแจกแจง ในรายละเอียด อย่างสมเหตุสมผล กับเรื่องที่จะ ทำวิจัย และควร แยกออกเป็น หมวด ๆ
ก. หมวดบุคลากร โดยระบุว่า ต้องการบุคลากร ประเภทไหน มีคุณวุฒิ หรือความสามารถ อะไร จำนวนเท่าไร จะจ้าง ในอัตราเท่าไร เป็นระยะเวลาเท่าไร
ข. หมวดค่าใช้สอย เป็นรายจ่าย เพื่อให้ได้มา ซึ่งบริการใด ๆ เช่น ค่าสื่อสาร ค่าธรรมเนียม ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น เป็นต้น
ค. หมวดค่าวัสดุ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อสิ่งของ ซึ่งโดยสภาพ ย่อมสิ้นเปลือง เปลี่ยน หรือสลายตัว ในระยะเวลาอันสั้น รวมทั้งสิ่งของ ที่ซื้อมา เพื่อการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซม ทรัพย์สิน เช่น ค่าสารเคมี ค่าเครื่องเขียน และแบบพิมพ์ ค่าเครื่องแก้ว และอุปกรณ์ไม่ถาวร ฟิลม์ อ๊อกซิเจน เป็นต้น
ง. หมวดค่าครุภัณฑ์ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อของ ซึ่งตามปกติ มีลักษณะ คงทนถาวร มีอายุการใช้ยืนนาน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว มีบางแหล่งทุน ไม่อนุญาต ให้ใช้หมวดนี้ นอกจาก มีความจำเป็นจริง ๆ ซึ่งต้องเสนอ ให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป
การคิดงบประมาณ ต้องพิจารณาเงื่อนไข ของแต่ละแหล่งทุน ว่ามีระเบียบ ในเรื่องนี้ อย่างไรบ้าง เพราะแหล่งทุน แต่ละแห่ง มักจะมีระเบียบต่าง ๆ กัน

           
          อรชร  โพธิ ( 2545หน้า 157210 ) กล่าวว่างบประมาณ  หมายถึงระบบการวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินสำหรับการดำเนินธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์  เป้าหมาย  และนโยบายในการดำเนินงานขององค์การ    การจัดสรรทรัพยากรไปใช้เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร  และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามแผนนั้น ๆ


 สรุป
           การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
        1 เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
        2 ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
        3 ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
        4 ค่าครุภัณฑ์
        5 ค่าประมวลผลข้อมูล
        6 ค่าพิมพ์รายงาน
        7 ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบ
                  โครงการแล้ว
        8 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ



อ้างอิง
                http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2556
                http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 
                   5 มกราคม 2556
อรชร  โพธิสุข และคณะ (.2545) .เอกสารการสอนการบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ .กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, หน้า 157 – 210.

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

19.การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration and Time Schedule)


19.การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration and Time Schedule)

      http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation) 
ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มแรก จนเสริจสิ้นโครงการ เป็นขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2. กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น

- ขั้นเตรียมการ (Preparatory Phase)
- ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
- ติดต่อผู้นำชุมชน
- การเตรียมชุมชน
- การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
- การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
- การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
- การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
- การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
- ขั้นปฏิบัติงาน (Implementation Phase)
- ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
- ขั้นการเขียนรายงาน
3. ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
4. การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล
สำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ก. การจัดองค์กร (Organizing) เช่น การกำหนดหน้าที่ ของคณะผู้ร่วมวิจัย แต่ละคน ให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหา และการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
ข. การสั่งงาน (Directing) ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม (control) เป็นต้น
ค. การควบคุมการจัดองค์กร (Organization Control) นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการ สั่งการ และควบคุม ภาพของงานต่อไป โดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการ (chain of command) เพื่อวางโครงสร้าง ของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ ตลอดจนติดตามประเมินผล ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และ/หรือ ทำเป็นแผนภูมิเคลื่อนที่ (flow chart) เช่น

ง. การควบคุมโครงการ (Project Control) มีได้หลายวิธี เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงาน (time schedule) ซึ่งเป็น ตารางกำหนด ระยะเวลา ในการปฏิบัติงาน ของแต่ละกิจกรรม เพื่อช่วยให้ การควบคุม เวลา และแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ ผู้วิจัย ทำเสร็จทันเวลา
จ. การนิเทศงาน (Supervising) ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไข ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของการควบคุมงาน ให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง


เสนาะ   ติเยาว์ (2544 : 1) ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

           พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545 : 728) การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง
สรุป
การบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

อ้างอิง
                พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว.(2545). ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม.พิมพ์ครั้งที่   
                    5.กรุงเทพมหานคร สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.
                เสนาะ ติเยาว์. (2544).หลักการบริหาร.พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร : 
                   โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
                http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 
                    4  มกราคม 2556