วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)

ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษ์ที่ 20        ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)



images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com)
         (Apperception หรือ Herbartianism) นักคิดกลุ่มนี้ คือ จอห์น ล็อค ทิชเชเนอร์ และแอร์บาร์ต ซึ่งความเชื่อ        ของนักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนร้ นั้น มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีความเลวในตัวเอง การเรียนร้เกิดได้จากแรงกระต้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral-passive)  มนุษย์เราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า การเรียนร้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มาก ๆ ในหลาย ๆ ทาง จึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนร้ได้ดี




(www.wijai48.com )
          ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี


ทิศนา  แขมมณี (2554 : 49)
        กล่าวว่า นักคนคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ จอห์น ล็อค (John Locke) วิลเฮล์ม วุนด์(Wilhelm Wundt)
ทิชเชเนอร์(Titchener) และ แฮร์บาร์ต (Herbart) ซึ่งมีความเชื่อดังนี้ (Bigge, 1964:33-47)
        ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
        1)  มนุษย์เกิดมามีทั้งความดีและความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอก หรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)
       2)  จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า(tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มากๆ ในหลายๆ ทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
        3)  วุนด์  เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบสองส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และการรู้สึก (feeling) คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
        4)  ทิชเชเนอร์มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1ส่วนได้แก่ จินตนาการ (immagination) คือการคิดวิเคราะห์
        5)  แฮร์บาร์ต  เชื่อว่าการเรียนรู้มีสามระดับคือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sense activity)  ขั้นการจำความคิดเดิม (memory characterized) และขั้นเกิดความคิดรวบยอดและการเข้าใจ (conceptual  thinking 0r understanding)  การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสั่งสมประสบการณ์ หรือความรู้เหล่านี้ไว้การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อยๆ  เมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น โดยผ่านกระบวนการเชื่อมโยงและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่และความรู้เดิมเข้าด้วยกัน (apperception)
         6)  แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการสอนควรเริ่มจากกระบวนการความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่  ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่ๆ
        หลักการจัดการศึกษา/การสอน
        1)  การจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
        2)  การช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่  จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างดี
        3)  การสอนโดยดำเนินการตาม 5ขั้นตอนของแฮร์บาร์ต  จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว  ขั้นตอนดังกล่าวคือ
                3.1)  ขั้นเตรียมการหรือขั้นนำ (preparation)  ได้แก่การเร้าความสนใจของผู้เรียนและการทบทวนความรู้เดิม
                3.2)  ขั้นเสนอ (presentation)  ได้แก่การเสนอความรู้ใหม่
                3.3)  ขั้นการสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (comparison and abstraction)  ได้แก่ การขยายความรู้เดิมให้กว้างออกไปโดยสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ด้วยวิธีการต่างๆ  เช่น การเปรียบเทียบ  การผสมผสาน  ฯลฯ ทำให้ได้ข้อเท็จจริงใหม่ที่สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
                3.4)  ขั้นสรุป  (generalization)  ได้แก่ การสรุปการเรียนรู้เป็นหลักการหรือกฏต่างๆ ที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์อื่นๆต่อไป
                3.5)  ขั้นประยุกต์ใช้ (application)  ได้แก่ การให้ผู้เรียนน้ำข้อสรุปหรือการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนเดิม




สรุป
มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีและความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)  คนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มาก ๆ ในหลาย ๆ ทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้  จิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือการสัมผัสทั้ง 5 (sensation) แลการรู้สึก (feeling) คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  และ ส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วน ได้แก่ จินตนาการ (imagination) คือการคิดวิเคราะห์  การเรียนรู้มี 3 ระดับคือขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sens activity) ขั้นจำความคิดเดิม (memory characterized) และขั้นเกิดความคิดรวบยอดและเข้าใจ (conceptual thinking or understanding) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสั่งสมประสบการณ์หรือความรู้เหล่านี้ไว้ การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อย ๆ เมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น โดยผ่านกระบวนการเชื่อมโยงและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเข้าด้วยกัน ( apperception)  การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่ ๆ







อ้างอิงค์[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซน์ : images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com :เข้าถึงเมื่อ  24/06/2555 [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซน์ :www.wijai48.com :เข้าถึงเมื่อ  24/06/2555
ทิศนา  แขมมณี .(2554:49).ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย :เข้าถึงเมื่อ  24/06/2555 




















ทฤษฏีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)

ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษ์ที่ 20       ทฤษฏีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)


Z www.wijai48.com )

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก  ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

www.oknation.net)

นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

ทิศนา แขมมณี (2554 : 47)

         กล่าวว่า  นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ รุสโซ (Rousseau) ฟรอเบล (Froebel) และเพสตาลอสซี (PestaloZZi) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
ก.    ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้                                                                                                                                  
1.               มนุษญ์เกิดมาพร้อมกับความดี และการกระทำใดๆเกิดข้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (good-active)
2.               ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จัเรียนรู้และพัฒนาตนเองหากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ
3.               รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆเด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด๋กควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
4.               รัสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญ เด็กควรจะเรียนรู้ตามธรรมชาติคือ การเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือ หรือจากคำพูดบรรยาย
5.               เพสตาลอสวี มีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ “คนสัตว์”ซึ่งมีลีกษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลส “คนสังคม”มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคมคล้อยตามสังคม และ “คนธรรม”ซึ่งมีลักษณะของการรับผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะ ดังกล่าว
6.               เพสตาลอสซี เชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
7.               ฟรอเบลเชื่อว่า ควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3-5 ขวบ โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
8.               ฟรอเบลเชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก
ข.       หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.               การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กมีสภาวะที่ต่างไปจากวัยอื่นๆ
2.               การจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ
3.               ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ฏ คือ การจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติ ได้แก่
3.1 ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
3.2 ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
3.3 ให้เด็กได้เรียนจากของจริงและประสบการณ์จริง
3.4 ให้เด๋กได้เรียนรู้จากผลของการกระทำของตน
                         4.   การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

สรุป
ทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ เน้นการเรียนการสอนที่เป็นไปตามธรรมชาติ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง รวมทั้งสื่อการสอนที่เป็นของจริง ผู้เรียนจึงเกิดความสนใจและเกิดแรงกระตุ้นที่เรียนรู้ได้เป็นอย่างดี   มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีและการกระทำใด ๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (good - active)  ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัมนาตนเองไปตามธรรมชาติ   เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด้กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   ธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญเด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ คือการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือหรือจากคำพูดบรรยาย คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลส คนสังคม มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคม คล้อยตามสังคม และคนธรรม ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักผิดชอบชั่วดี 




อ้างอิงค์
 [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซน์ http:// www.wijai48.com เข้าถึงเมื่อ  28/06/2555
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซน์ http://www.oknation.net เข้าถึงเมื่อ  28/06/2555
ทิศนา  แขมมณี .(2554:47).ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าถึงเมื่อ  28/06/2555


ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline)

ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษ์ที่ 20        ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline)



http://www.hymn.in/)    
        
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method) เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี




(www.sobkroo.com ) 


นักคิดในกลุ่มนี้แยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 
1. กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดคือ เซนต์ออกุสติน จอร์น คาลวิน และ คริสเตียน โวล์ฟ นักคิดกลุ่นี้มีความเชื่อในเรื่อง  มนุษย์เกิดมาพร้อมความชั่ว การกระทำใดๆเกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวของมนุษย์เองและพร้อมที่จะทำชั่วหากไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนอย่างถูกวิธี
2. กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดที่สำคัญคือ พลาโต และอริสโตเติล นักคิดในกลุ่นี้มีความเชื่อว่า พัฒนาการเป็นเรื่องของมนุษย์ มิใช้การดลบันดาลของพระเจ้า โดยมนุษย์เกิดมามีลักษณะที่ไม่ดี ไม่เลว และการกระทำเกิดจากแรงกระตุ้นภายใน โดยมนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเองและมีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ต้องได้รับการกระตุ้นจึงจะแสดงความรู้ออกมา


ทิศนา  แขมมณี (2554 : 45)

กล่าวว่า  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่อง ที่ยาก ๆ ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ (Bigge,1964 : 19 – 30 )

1.1 กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St. Augustine) จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
        ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้       1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-  

       active)
        2.มนุษย์พร้อที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
       3.สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความ
       เข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
       4.การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
       5.การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ใบ
       เบิล เป็นต้น
        หลักการจัดการศึกษา/การสอน       1.การฝึกสมองหรือการฝึกระเบียบของจิตอย่างเข้มงวด เป็นสิ่งสำคัญในการฝึกให้บุคคลเป็นคนฉลาดและคนดี

       2.การฝึกจิตจะต้องทำอย่างเข้มงวด เพื่อให้จิตเข้มแข็ง การบังคับ ลงโทษเป็นสิ่งจำเป็นถ้าผู้เรียนไม่เชื่อฟัง
      3.การจัดให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาวิชาที่ยาก ได้แก่ คณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาตินและภาษากรีก จะช่วยฝึกฝน
     สมองให้เข้มแข็งได้เป็นอย่างดี
     4.การจัดให้ผู้เรียนได้ศึกษาคัมภีร์ใบเบิลและยึดถือในพระเจ้า จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนดี 




สรุป
        จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่อง ที่ยาก ๆ ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้น
   ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง เป็นกลุ่มที่พูดถึงจิต สมอง และสติปัญญาของบุคคลว่ามีความแตกต่างกัน โดยสามารถที่จะฝึกและพัฒนาให้ปราดเปรื่องขึ้นได้ ซึ่งฝึกโดยการคิด เรียนรู้ในสิ่งยากๆ ซ้ำๆ จะทำให้จิตแข็งแรงมากขึ้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา หากบุคคลได้รับการเรียนรู้และฝึกฝนเป็นอย่างดี และเมื่อบุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากมากขึ้นเท่าไร จิตและสมองก็จะแข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น


อ้างอิงค์
 (http://www.hymn.in/) เข้าถึงเมื่อ  30/06/2555 
(www.sobkroo.com ) เข้าถึงเมื่อ  30/06/2555 
ทิศนา  แขมมณี .(2554:45).ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เข้าถึงเมื่อ   30/06/2555 

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันนี้เรียนรู้การสร้างเว็บบล็อกใน อากู๋
อยากจะสลายร่างมากฮะ :;O)