วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน


(http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=10&cad=rja&ved=0CHkQFjAJ&url=http%3A%2F%2Fimages.minint.multiply.multiplycontent.com%2Fattachment%2F0%2FSJVurAoKCGQAAEMaxNs1%2F%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B4%2520(HyperMedia).doc%3Fkey%3Dminint%3Ajournal%3A4%26nmid%3D108684874&ei=QJ47UPbrIIKPrge7moBo&usg=AFQjCNGFWlA9MABtNf6ck1fgZ5CcCfMM9g&sig2=nreQtGwRvrvd9eSacyzpyQ)

สื่อหลายมิติ (HyperMedia) 

สื่อหลายมิติ  คือ  การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม

ลักษณะของข้อความหลายมิติ (Hypertext)
                 ข้อความหลายมิติ (Hypertext)  เป็นระบบย่อยของ สื่อหลายมิติ(Hypermedia)  เป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม   โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจในตอนใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ (น้ำทิพย์  วิภาวิน, 2542 : 53 ; วิเศษศักดิ์  โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 53)  ลักษณะของ Hypertext ที่เห็นกันโดยทั่วไป เช่น   Help  ของ Windows  ซึ่งจะมีข้อความอธิบายในเรื่องหนึ่งอยู่  แต่เมื่อมีคำเฉพาะหรือคำที่สามารถอธิบายในรายละเอียดได้อีก  คำนั้นจะถูกเชื่อมไปยังข้อความหรือไฟล์อีกไฟล์หนึ่งเพื่อให้ผู้ใช้เรียกดู (ธนะพัฒน์  ถึงสุข และ 
ชเนนทร์  สุขวารี, ..: 84)
รูปแบบของข้อความหลายมิติมีลักษณะของการเสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นเส้นตรงในมิติเดียว ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อหาข้อมูลในมิติอื่น ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับตามเนื้อหา ทั้งนี้เพราะ ข้อความหลายมิติมีการตัดข้อมูลเป็นส่วนย่อยเป็นตอน ๆ เรียกว่า จุดต่อ”  (nodes)  และเมื่อผู้อ่านเรียกจุดต่อขึ้นมาอ่านเราเรียกว่า การเลือกอ่าน” (browse) 
จุดต่อที่ผู้อ่านจะเรียกมาใช้อ่านนั้นก็เมื่อจุดต่อนั้นมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลหรือเนื้อหาที่กำลังอ่านอยู่นั้น จุดต่ออาจจะประกอบด้วยคำเพียง 2 – 3 คำ หรือเป็นข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้นก็ได้
การติดต่อกันของจุดต่อนี้เกิดจากการ เชื่อมโยง” (link) ซึ่งผู้อ่านสามารถกระโดดข้ามจากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อหนึ่งได้โดยการคลิกเมาส์ที่ ปุ่ม” (button) ซึ่งอาจทำไว้ในลักษณะตัวอักษรดำหนา ตัวอักษรสี ตัวขีดเส้นใต้ แถบดำ จุดดำ สัญลักษณ์ เช่น อาจเป็นรูปตาถ้าต้องการแสดงจุดต่อของรูปภาพ หรือทำเป็นรูปลำโพง หรือไมโครโฟนเพื่อเสนอเสียงพูดหรือเสียงดนตรีก็ได้ 

ข้อมูลที่บรรจุในข้อความหลายมิติอาจเปรียบเทียบได้เสมือนกับเป็นบัตรหรือแผ่นฟิล์มใสหลายๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้นๆ (stacks)  ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้ โดยที่แผ่นแรกจะเป็นข้อมูลเริ่มต้นเพื่อให้อ่านและสามารถใช้เป็นรายการเพื่อพาดพิงหรือค้นคว้าไปถึงข้อมูลในแผ่นอื่น ๆ ต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติมย่อย ๆ หรือจุดต่อนี้จะปรากฏในกรอบเล็กหรือหน้าต่างเพื่ออธิบายข้อมูลเริ่มต้นนั้นให้กระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น และจะดึงออกมาได้มากน้อยเท่าไรก็ได้ตามความต้องการต่อจากนั้นผู้อ่านก็สามารถข้ามไปอ่านเนื้อหาข้อมูลที่สนใจต่อไปได้ และสามารถดึงจุดต่อออกมาใช้ได้ทุกเวลาตามต้องการ
จากความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติที่ได้ทราบไปแล้วนั้นว่าจะเสนอข้อมูลในลักษณะตัวอักษร ภาพกราฟิกอย่างง่ายๆ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาข้อความหลายมิติให้สามารถบรรจุข้อมูลได้หลากหลายประเภทขึ้นจึงได้ชื่อว่าเป็น ไฮเปอร์มีเดีย” (Hypermedia)  หรือตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานว่า สื่อหลายมิติ
สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกรกฟิกที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม (กิดานันท์  มลิทอง.  2540: 269)
สื่อหลายมิติ (Hypermedia)  เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่างๆ ได้ทั้ง ข้อความ  เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว (น้ำทิพย์  วิภาวิน, 2542 : 53)  Hypermedia  เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext  อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน (วิเศษศักดิ์  โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 53)

จุดประสงค์ของการใช้สื่อหลายมิติ ( Hypermedia)

1.        ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น (Browsing)  สืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบทเรียนต่างๆ
2.         ใช้เพื่อการการเชื่อมโยง (Linking)  โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงแฟ้มข้อมูลต่างๆ ภายในระบบเดียวกัน ตลอดจนเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายภายนอก เช่น การเชื่อมต่อกับ Intranet    Internet  เป็นต้น

3.         ใช้ในการสร้างบทเรียน (Authoring)   สร้างโปรแกรมนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว
                 (วิเศษศักดิ์  โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 56)

สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน
จากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ทำให้มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้นและวิชาเรียนต่าง ๆ แล้วในปัจจุบัน
ตัวอย่างการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน เช่น โรงเรียนฟอเรสต์ฮิลล์  เมืองแกรนด์ แรพิดส์ มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ได้ใช้สื่อหลายมิติตั้งแต่ปี ค.. 1990 เป็นต้นมา โดยใช้ในลักษณะบทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนได้ร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูกทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยเริ่มต้นด้วยการค้นคว้าหาเนื้อหาข้อมูลจากห้องสมุดแล้วรวบรวมภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และเสียงจากแหล่งค้นคว้าต่าง ๆ มาเป็นข้อมูล แล้วทำการสร้างบทเรียนโดยการใช้  Hypercard  และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการบันทึกข้อมูลเช่น ใช้เครื่องกราดภาพในการบันทึกภาพถ่าย  ส่วนภาพเคลื่อนไหวและเสียงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อกับเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์ และเนื้อหาบางส่วนบันทึกจากแผ่นซีดี รอมด้วย  เนื้อหาถูกเชื่อมโยงโดย ปุ่มเพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดยการเลือกเรียนและศึกษาเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ นอกจากนี้ ยังมีการเขียนบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในลักษณะสื่อหลายมิติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น ToolBook และ AuthorWare  ด้วย

ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
ในการเรียนบทเรียนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจาก บทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
1.      เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที
2.      ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการดูแผนภาพหรือภาพวาดดูภาพถ่าย ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect
3.      ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน
                4.         ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด แผนที่มโนทัศน์ (concept map)  ของตนเพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
5.         สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก
6.         ใช้แผนที่ระบบ (system map)  เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่าจะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป


สื่อหลายมิติ  (Hypermedia)
         วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา กล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน

        กิดานันท์ มลิทอง กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม
        สรุปสื่อหลายมิติ   หมายถึง   การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง “สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก “ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม
การผลิตสื่อหลายมิติ 
        การจัดทำสื่อหลายมิติ จัดทำโดยใช้กระบวนการของสื่อประสมในการผลิตเรื่องราวและบท เรียนต่าง ๆ ในรูปลักษณะและวิธีการของข้อความหลายมิติ นั่นเอง โดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์ กลางการเขียนเรื่องราว ซึ่งมีโปรแกรมที่นิยมใช้ หลายโปรแกรมแต่ที่รู้จักกันดี เช่น ToolBook AuthorWare Dreamweaver PowerPoint เป็นต้น

จุดมุ่งหมายของการใช้สื่อหลายมิติ 
1. ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น(Browsing)สารสนเทศต่าง ๆ
2. ใช้เพื่อการเชื่อมโยง (Linking) แฟ้มข้อมูลต่าง ๆ
3. ใช้ในการสร้างบทเรียน (Authoring) สร้างโปรแกรมนำเสนอรายงานสารสนเทศต่าง ๆ ที่มีความ น่าสนใจเนื่องจากสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว

การนำสื่อหลายมิติมาใช้ในการเรียนการสอน 
        มีการนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการ ผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อน ไหว และเสียงต่าง ๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการที่โรงเรียนฟอเรศต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์ แรพิดส์ สหรัฐ อเมริกา ได้จัดทำบทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูก ทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยการค้นคว้าเนื้อหาจากห้องสมุด แล้ว รวบรวมภาพถ่ายภาพเคลื่อน ไหลต่าง ๆ มาเป็นข้อมูลแล้วทำการสร้างเป็นบทเรียนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วย

ประโยชน์และลักษณะของบทเรียนหลายมิติ 
       การเรียนบทเรียนที่มีลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจากบทเรียนได้หลายประเภทดังนี้
1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์
2. ขยายความเข้าใจเนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาด ภาพถ่าย หรือฟังคำอธิบายหรือฟังเสียง ดนตรี เป็นต้น
3. ใช้สมุดบันทึกที่มี อยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
4. ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ต่าง ๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
6. ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน


สื่อหลายมิติ ( 2000 : 165 ) ความหมาย   สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อ ความหลายมิติ (hypertext) นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดย แวนนิวาร์ บุช (Vannevar Bush) เป็นผู้ ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ หลาย ๆ ข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
                      จากแนวคิดดังกล่าว เท็ด เนลสัน และดั๊ก เอนเจลบาร์ต ได้นำแนวคิดนี้มาขยายเป็นรูปเป็น ร่างขึ้น โดยการเขียนบทความหรือเนื้อหาต่าง ๆ กระโดยข้ามไปมาได้ในลักษณะที่ไม่เรียงลำดับเป็น เส้นตรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า ไฮเพอร์เท็กซ์หรือข้อความหลายมิติ โดยการใช้ คอมพิวเตอร์ช่วย แนวคิดเริ่มแรกของสื่อหลายมิติคือความต้องการเครื่องมือช่วยในการคิดหรือการ จำที่ไม่ต้องเรียงลำดับ และสามารถคิดได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
                       ข้อความหลายมิติ  Hypertext หรือข้อความหลายมิติ คือเทคโนโนยีของการอ่านและการเขียนที่ไม่เรียงลำดับ เนื้อหากัน โดยเสนอในลักษณะของข้อความที่เป็นตัวอักษร หรือภาพกราฟิคอย่างง่าย ที่มีการ เชื่อมโยงถึงกัน เรียกว่า จุดต่อ” (node) โดยผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่จากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อ หนึ่งได้โดยการเชื่อมโยงจุดต่อเหล่านั้น
                        ข้อความหลายมิติ เป็นระบบย่อยของสื่อหลายมิติ คือเป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่ จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจตอนใดก็ได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับลักษณะข้อความหลายมิติอาจ เปรียบเทียบได้เสมือนกับบัตรหรือแผ่นฟิล์มใส หลาย ๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้
                        สื่อหลายมิติ (Hypermedia)  มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติไว้ดังนี้
                        
น้ำทิพย์    วิภาวิน    (2542:53) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
                        วิเศษศักดิ์     โคตรอาชา   (2542:53)  กล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
              กิดานันท์    มลิทอง  (2540:269) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวได้หลายรูปแบบมากกว่าเดิม
                        
สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
                        
การนำเสนอเนื้อหาแบบข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติเป็นการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะของกรอบความคิดแบบใยแมงมุม ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่เชื่อว่าจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวิธีที่มนุษย์จัดระบบความคิดภายในจิต ดังนั้น ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติจึงทำให้สามารถคัดลอกและจำลองเครือข่ายโยงใยความจำของมนุษย์ได้ การใช้ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนจึงช่วยให้ผู้เรียน

สรุป
สื่อหมายมิติเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและเพิ่มความสามารในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ ภาพกราฟฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ปัจจุบันสื่อหลายมิติได้มีการพัฒนาโดยผสมผสานเทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปอย่างรวดเร็วโดยทั่วไปนั้นส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดและเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ จนกระทั่งเกิดการค้นหาวิธีและพัฒนาไปสู่แนวทางใหม่ของสื่อหลายมิติ ที่เรียกว่า สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียน ทั้งนี้สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้



อ้างอิง
เข้าถึงเมื่อ 20  สิงหาคม 2555

เข้าถึงเมื่อ 20  สิงหาคม 2555

สื่อประสม คืออะไร

สื่อประสม คืออะไร

สื่อประสม (Multimedia)
ความหมาย
        สื่อประสมหรือสื่อหลายแบบ (Multimedia) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถผสมผสานระหว่างข้อความ ข้อมูล ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive) มาผสมผสานเข้าด้วยกัน
        สื่อประสมหรือมัลติมีเดีย หมายถึงการนำเอาสื่อหลาย ๆ อย่าง เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส มาใช้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน ต่อมาเมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้มากขึ้น และสามารถใช้งาน ได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง ข้อความและภาพเคลื่อนไหว ทำให้ความหมายของสื่อประสมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนประกอบหลัก ที่มีใช้ทั่วไปของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจะมี CD-ROM sound card และลำโพง เพิ่มเข้ามาในคอมพิวเตอร์ หรืออาจมีส่วนประกอบที่เกี่ยวกับการใช้งานวิดีโอด้วย นอกจากนี้ยังมีความหมายรวมถึงการใช้การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องวิดีโอเทปเสียง ซีดีรอม กล้องดิจิตอล โทรทัศน์ฯลฯ ให้ทำงานร่วมกัน การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์หลาย ๆ อย่างดังกล่าวจะต้องอาศัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) และอุปกรณ์ (Hardware) ต่าง ๆ ประกอบกัน บางครั้งจึงเรียกว่าสถานีปฏิบัติการมัลติมีเดีย (Multimedia workstation) 
        ไฮเปอร์มีเดีย หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย นำเสนอสารสนเทศต่าง ๆ ในรูปของ ตัวอักษร ภาพ เสียง และการเคลื่อนไหว โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยง เลือกหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการ ตลอดจนขั้นตอนการเรียนรู้ได้ตามที่กำหนด ไว้ในโปรแกรม
        ลักษณะของสื่อประสม 
        1. การนำสื่อหลายชนิดมาผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นตัวจัดการ และควบคุมให้สื่อต่าง ๆ ให้ แสดงผลออกมาทางหน้าจอและลำโพงของคอมพิวเตอร์ อันประกอบไปด้วย
            1. ภาพ ได้แก่ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และภาพวีดิทัศน์
            2. เสียง ได้แก่ เสียงบรรยาย เสียงสนทนา ดนตรี และเสียงประกอบอื่น ๆ
            3. ข้อความ ซึ่งคอมพิวเตอร์สร้างจากข้อมูลตัวอักษร
            4. ความสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ (interactivity) คือ ความสามารถในการจัดการกับข้อมูลภาพและเสียง ให้แสดงผลบนจอในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ไม่ใช่การแสดงผลรวดเดียวจบ (run through) แบบวีดิทัศน์ หรือภาพยนตร์ และไม่ใช่การสื่อสารทางเดียว (one-way communication) คือ ผู้ชมเป็นผู้ดูฝ่ายเดียวอีกต่อไป
        คุณค่าและข้อจำกัดของสื่อประสม
        คุณค่า
        1. ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาตามความสามารถและความสนใจจากสื่อหลายประเภท และได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า
        2. ช่วยลดเวลาการเรียนและการสอนทั้งผู้เรียนและผู้สอน แต่ประสิทธิภาพการเรียนไม่ลดลง
        3. ช่วยเพิ่มพูนกระบวนการเรียนเพื่อรอบรู้และลดปัญหาการสอบตก
        4. ช่วยในการประเมินผลการสอนและการปรับปรุงการสอน
        ข้อจำกัด
        1. สื่อประสมที่ดีนั้นบูรณาการได้มากกว่าสื่อเฉพาะอย่าง
        2. สื่อประสมสำหรับการเรียนการสอนบางอย่าง มีข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่และเครื่องมือเครื่องใช้
        3. ใช้งบประมาณและเวลามากในการเตรียมการเพื่อการผลิตหรือการจัดทำ

สื่อประสม  (Multi Media) 
            สื่อประสม  หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการพลิกหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ และเสียง
            จากความหมาย ของคำว่าสื่อประสม นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งสื่อประสมออกเป็น
2 กลุ่ม  คือ
·       สื่อประสม (Multimedia 1)  เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วม
กันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดิทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอนโดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน การใช้สื่อประสมประเภทนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน และจะมีลักษณะเป็น สื่อหลายแบบ
·       สื่อประสม (Multimedia 2)  เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสาร
สนเทศหรือการผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่าง ๆ เชนภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยที่ผู้ใช้มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง

การนำสื่อประสมมาใช้ในการศึกษา

           สื่อประสมมีประโยชน์ในด้านการศึกษาหลาย ๆ ประการ เช่น  เป็นการดึงดูดความสนใจ ของผู้เรียน   เป็นการให้สารสนเทศที่หลากหลาย  สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลได้เป็นอย่างดี  ที่สำคัญช่วยให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบยั้อนหลังและแก้ไขจุดอ่อนในการเรียนได้   ซึ่งเราสามารถใช้สื่อประสมเพื่อการศึกษาได้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น
1.      เป็นเกมเพื่อการศึกษา  คือ การใช้เกมในลักษณะของสื่อประสมซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดึงดูด
ความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากความสนุกสนานจากการเล่นเกมตามปกติ
เกมต่าง ๆ จะมีการสอดแทรกความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น คำศัพท์ ความหมายของวัตถุ แผนที่ทางภูมิศาสตร์  การฝึกทักษะด้านความเร็วในการคิดคำนวณ ฯลฯ 
            เกมเพื่อการศึกษาเกมหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพื่อให้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์และฝึกทักษะด้านการค้นหาได้แก่ เกม ชื่อ  Where in the World is Carmen Sandiago  เป็นต้น
2.      การสอนและการทบทวน  คือ การใช้สื่อประสมเพื่อการสอนและทบทวนซึ่งมีด้วยการ
หลายรูปแบบ เช่น การฝึกสะกดคำ การคิดคำนวณ และการเรียนภาษา ผู้เรียนจะมีโอกาสเรียนรู้จากการสอนในเนื้อหา และฝึกปฏิบัติเพื่อทบทวนไปด้วยในตัว จนกว่าจะเรียนเนื้อหาในแต่ละตอนได้เป็นอย่างดีแล้วจึงเริ่มในบทใหม่ตามหลักของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย  เช่น การเรียนภาษาต่างๆ
3.      สารสนเทศอ้างอิง   คือ  สื่อประสมที่ใช้สำหรับสารสนเทศอ้างอิงเพื่อการศึกษามักจะ
บรรจุอยู่ในแผ่นซีดี รอม เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะเป็นลักษณะเนื้อหานานาประเภทอาทิเช่น สารนุกรม  พจนานุกรม แผนที่โลก ปฏิทินประจำปี สารทางการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ


สื่อประสม (multimedia theory) เป็นการนำเอาสื่อการสอนหลาย ๆ อย่าง มาสัมพันธ์กัน และ มีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างมีระบบ สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจ ในขณะที่อีกสื่อใช้อธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียน มีประสบการณ์จากประสาทสัมผัส ให้นักเรียนได้ค้นพบวิธีการ ที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น

     กิดานันท์ มลิทอง (2544, หน้า 6-7) ได้อธิบายว่า สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน ส่วน ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2533) กล่าวว่า การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้พบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น หรือมีอีกความหมายหนึ่งว่า สื่อประสม หมายถึง การนำวัสดุอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ หุ่นจำลอง หนังสือ เป็นต้น ซึ่งมีเนื้อหาสาระสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนการสอน แล้วเลือกมาประกอบกันเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในแต่ละครั้งซึ่งความหมายของสื่อประสมที่กล่าวมาข้างต้นนั้น สอดคล้องกับแนวคิดของ สมสิทธิ จิตรสถาพร (2547) ที่กล่าวเสริมว่า สื่อประสม (multimedia) หมายถึง การใช้สื่อหลายอย่างประกอบกันอย่างเป็นระบบ


องค์ประกอบของสื่อประสม    
           1) ภาพนิ่ง 
           2) ภาพเคลื่อนไหว 
           3) ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ 
           4) เสียง 
           5) ส่วนต่อประสาน และ 
           6) การเชื่อมโยงหลายมิติ 


ลักษณะของสื่อประสมที่ดี
           1) มีความสะดวกในการใช้      
           2) มีการตรวจสอบและพัฒนาแล้ว 
           3) มีครบตามจำนวนผู้เรียน 
           4) เคยทดลองแล้วมาหลายครั้ง 
           5) สามารถยืดหยุ่นได้ 
           6) ส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล และ 
           7) ใช้สื่อการสอนหลาย ๆ อย่างที่สัมพันธ์กันและสอดคล้องกับเนื้อหา มีการจัด และประเมินผลแบบอิงเกณฑ์หรือตามจุดประสงค์การเรียนรู้


ประโยชน์ของสื่อประสมต่อการเรียนการสอน 
           1) เป็นสื่อที่ส่งเสริมการเรียน การสอนด้วยตนเอง 
           2) สามารถเป็นแบบจำลองสถานการณ์หรือให้ตัวอย่างที่เป็นแบบฝึกและการเรียนการสอนที่ไม่เป็นแบบฝึก 
           3) มีภาพประกอบเนื้อหาและสนับสนุนการ มีปฏิสัมพันธ์ 
           4) เป็นสื่อที่สามารถพัฒนาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ 
           5) ผู้ใช้สามารถควบคุมด้วยตนเอง 
           6) สามารถสร้างแรงจูงใจได้ดี 
           7) ช่วยพัฒนาความเข้าใจและเพิ่มศักยภาพเกี่ยวกับวิธีการคิด 
           8) สามารถจัดการด้านเวลาการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
           9) มีปริมาณข้อมูลมากมายและหลากหลายรูปแบบ และ 
           10) มีการนำเสนอวัฒนธรรมแบบผสมผสาน


สรุป
สื่อประสม (multimedia) หมายถึงการนำสื่อหลาย ๆ อย่างมาใช้ประกอบกันอย่างเป็นระบบ โดยลักษณะของสื่อประสมที่ดีนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อหาหรือตามจุดประสงค์การเรียนรู้  ช่วยส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการตรวจสอบและเคยทดลองใช้มาแล้วมีความสะดวกในการนำไปใช้ และครบตามจำนวนผู้เรียน จากลักษณะที่ดีของสื่อประสมทำให้สื่อประสมมีประโยชน์ในการใช้งานเป็นที่ยอมรับทั่วไป โดยเป็นสื่อที่ส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยตนเอง สามารถเป็นแบบจำลองสถานการณ์ได้ มีภาพประกอบเนื้อหาเพื่อช่วยพัฒนาความเข้าใจและเพิ่มศักยภาพเกี่ยวกับวิธีการคิด ช่วยในการจัดการด้านเวลาในการเรียนได้ดี และมีปริมาณข้อมูลหลากหลายรูปแบบ  




อ้างอิง
เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม 2555

เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม 2555

เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม 2555


สื่อการสอน

(http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=5&group_id=23&article_id=194)

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน

       สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น

สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร
       สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
       1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
       1.1วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น
       1.2วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการที่ใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น
       2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็ฯตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใครรู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่นักเรียนจำนวนมาก ได้ไกลๆ และรวดเร็ว และบางทีก็ทำหน้าที่เหมือนครูเสียเอง เช่น
เครื่องช่วยสอน ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง
เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย
       3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ 



(http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=5&cad=rja&sqi=2&ved=0CEgQFjAE&url=http%3A%2F%2Fimages.destruction127.multiply.multiplycontent.com%2Fattachment%2F0%2FSHrdhAoKCnsAAAspgpk1%2F%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AA%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2587.doc%3Fkey%3Ddestruction127%3Ajournal%3A8%26nmid%3D105571651&ei=95Y7UMzRCIbprQf8y4CQCQ&usg=AFQjCNHoLoK7junx6sEEp9IsReULi9LbRA&sig2=4KcuhNv9aW2qqScjTc5uog)


สื่อการสอนหมายถึง วัสดุอุปกรณ์ วิธีการต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อกลางระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ในการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
          ดังนั้น สื่อการสอนจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเรียนการสอน ซึ่งแต่เดิมสื่อการสอนถูกเรียกว่า โสตทัศนูปกรณ์
          สื่อการสอนเป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการถ่ายทอดสาร จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ซึ่งกระบวนการสื่อความหมายนั้น เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้น การถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการสื่อความหมายด้วยเช่นกัน
          โดยบทบาทและคุณค่าของสื่อการสอนนั้น มีนักเทคโนโลยีการศึกษา และนักจิตวิทยาหลายท่าน ได้สรุปสาระสังเขปสำคัญไว้ เช่น
          อิริคสันได้กล่าวถึงความสำคัญของสื่อการสอนไว้ดังนี้
1.      สื่อการเรียนการสอนจะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนที่ไม่มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศไกลๆ แต่นำภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับประเทศนั้นๆมาฉายให้ดู ผู้เรียนก็จะเกิดประสบการณ์ที่กว้างขวางขึ้น
2.      สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย เช่นการใช้บทเรียนจากวิทยุ โทรทัศน์ เครื่องฉาย หรือบทเรียนสำเร็จรูป
3.      สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการตอบสนองตามความคาดหวังที่คาดหวังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เช่น ศูนย์การเรียน หรือการเรียนด้วยตัวเองจากบทเรียนสำเร็จรูป
4.      สื่อการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียนรู้ จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักอภิปราย การสาธิต การแสดงนาฏการเป็นต้น
5.      สื่อการเรียนการสอนจะช่วยสอนสิ่งที่อยู่ในที่ลี้ลับ ไม่สามารถนำมาให้ดูโดยตรงได้ เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนแสดงการทำงานของอะตอม
6.      สื่อการเรียนการสอน จะช่วยในการวินิจฉัย หรือการซ่อมเสริมผู้เรียนได้ ตัวอย่างเช่น การใช้แบบเรียนรู้สำเร็จรูปสำหรับผู้เรียนที่เรียนช้ากว่าปกติ
เกอร์ลาซ และ อีไล ได้ให้ลักษณะพิเศษของสื่อการสอนไว้ดังนี้
1.      สื่อการเรียนการสอนสามารถบันทึกเหตุการณ์ในอดีต ตลอดจนปัจจุบันได้ และสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก
2.      สื่อการสอนสามารถบันทึกเหตุการณ์ที่มนุษย์ไม่สามารถสังเกตหรือมองเห็นได้ เช่น การใช้ภาพยนตร์ฉายแสดงการงอกของต้นถั่ว การแสดงภาพนักกีฬาที่เคลื่อนไหวช้าลง หรือการถ่ายสไลด์จากกล้องจุลทรรศน์เป็นต้น
3.      สื่อการเรียนการสอนสามารถใช้ได้กับคนกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือรายบุคคลในสถานที่แตกต่างกันได้

เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงคุณค่าของสื่อการเรียนการสอน ต่อผลการเรียนการสอนดังนี้
1.      ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2.      ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้มากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้
3.      ช่วยให้ผู้เรียนสนใจ และมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4.      ช่วยให้ผู้เรียนจดจำและประทับความรู้สึก ทำอะไรเป็นเร็วและดีขึ้น
5.      ช่วยส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
6.      ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ยากลำบากได้ โดยการแก้ปัญหาหรือข้อจำกัดต่างๆได้ดังนี้
ก.            ทำสิ่งซับซ้อให้ง่ายขึ้น
ข.            ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
ค.            ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
ง. ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงช้าให้เร็วขึ้น
จ.ทำสิ่งใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง
ฉ.            ทำสิ่งเล็กให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
ช.            นำเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตมาศึกษาได้
ซ.            นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
กล่าวโดยสรุปแล้ว คุณค่าของสื่อการสอนนั้น เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยในการจัดสภาพการเรียนรู้ เอื้อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม โดยช่วยทำให้สิ่งที่ยากต่อการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อยลง หรือสามารถเรียนรู้ได้ในกลุ่มขนาดใหญ่ ช่วยลดช่องว่างทางการเรียนรู้ ทั้งด้านระยะเวลา ระยะทาง งบประมาณ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ช่วยขจัดหรือลดอุปสรรคทางการเรียนรู้ลงนั่นเอง
ประเภทของสื่อนั้น เราสามารถจำแนกได้ 3 รูปแบบคือ
1.      แบ่งตามระดับประสบการณ์ของผู้เรียน
2.      แบ่งตามรูปร่างลักษณะของสื่อ
3.      แบ่งตามลักษณะของการนำไปใช้
การแบ่งประเภทของสื่อตามประสบการณ์ของผู้เรียน มีแนวคิดที่ว่า การเรียนรู้ของ
มนุษย์ย่อมเกิดจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆโดยผ่านสื่อกลาง ระดับของประสบการณ์ที่ได้รับย่อมมีปริมาณมาก-น้อยแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับว่ามีความเป็นรูปธรรม หรือนามธรรมมากน้อยเพียงไร
         แนวคิดของ Edgar Dale แบ่งประสบการณ์ได้เป็น 11 ประเภท ได้แก่
1.      ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย
2.      ประสบการณ์จำลอง
3.      ประสบการณ์นาฏการ
4.      การสาธิต
5.      การศึกษานอกสถานที่
6.      นิทรรศการ
7.      โทรทัศน์การศึกษา
8.      ภาพยนตร์
9.      ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง วิทยุ
10.  ทัศนสัญลักษณ์
11.  วัจนสัญลักษณ์

การแบ่งประเภทของสื่อตามรูปร่างลักษณะของสื่อ
          Wilbure Young ได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ดังนี้
1.      ทัศนวัสดุ ได้แก่ กระดานชอล์ก แผนภูมิ รูปภาพ สไลด์ ฟิล์ม ฟิล์มสตริป
2.      โสตวัสดุ ได้แก่ เทปบันทึกเสียง วิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา
3.      โสตทัศนวัสดุ ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์
4.      เครื่องมือต่างๆ ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องเสียง
5.      กิจกรรม ได้แก่ นิทรรศการ การสาธิต นาฏการ การศึกษานอกสถานที่

Gerlach and Ely ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1.      ภาพนิ่ง ได้แก่ รูปภาพต่างๆ ทั้งที่เป็นภาพถ่าย ภาพพิมพ์ และภาพที่มีอยู่ในหนังสือ สไลด์ ฟิล์ม และภาพโปร่งใส
2.      การบันทึกเสียง ได้แก่ สื่อที่บันทึกเสียงไว้ เช่น แผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ และเทปโทรทัศน์ เป็นต้น สื่อประเภทนี้จัดเป็นวัจนวัสดุ
3.      ภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ ฟิล์มภาพยนตร์ และ เทปโทรทัศน์
4.      โทรทัศน์
5.      ของจริง สถานการณ์จำลอง และหุ่นจำลอง
6.      การสอนแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

เปรื่อง กุมุท ได้แบ่งสื่อการเรียนการสอนไว้ 5 ประเภท ดังนี้
1.      บุคลากร ได้แก่ ครู วิทยากร
2.      วัสดุ ได้แก่ กระดาษ สี ของจริง สิ่งจำลอง หนังสือ ฟิล์ม
3.      เครื่องมือหรืออุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องมือปฏิบัติงาน
4.      สถานที่ ได้แก่ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การแสดงบทบาทสมมติ



โดยทั่วไป วงการเทคโนโลยีการศึกษา แบ่ง สื่อการศึกษาออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1.      เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการส่งสาร หรือส่งสื่อ ซึ่งเครื่องมือ หรืออุปกรณ์นี้ จำเป็นต้องมี ส่วนประกอบที่เรียกว่า soft ware เพื่อนำข้อมูลในวัสดุ ส่งไปยังผู้รับ
2.      วัสดุ (soft ware) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา ทำหน้าที่คือ การเก็บสารไว้ในตัว เพื่อใช้ประกอบกับเครื่องมือ หรืออุปกรณ์เพื่อใช้ในการส่งสาร หรือบางครั้ง ก็สามารถส่งสารด้วยตัวของมันเอง
3.      เทคนิค หรือวิธีการ เป็นการกระทำที่อยู่ในรูปแบบของการปฏิบัติ อาจจะใช้วัสดุเครื่องมือ หรือไม่ใช้ก็ได้ เทคนิคที่จัดว่าเป็นสื่อการสอนเช่น การแสดงนาฏการ การสาธิต การบรรยาย เป็นต้น
ศิริพงศ์ พะยอมแย้ม ได้ให้ทัศนะด้านประเภทของสื่อไว้ว่า สื่อสามารถแบ่งตามมิติออกเป็น 3 แบบได้แก่
1.      สื่อสามมิติ
ก.            สื่อ 3 มิติชนิดเคลื่อนไหว เช่น บุคคล การสาธิต นาฏการ
ข.            สื่อ 3 มิติชนิดนิ่ง เช่น ของจริง ของจำลอง
2.      สื่อ 2 มิติ
ก.            สื่อ 2 มิติชนิดเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์
ข.            สื่อ 2 มติชนิดนิ่ง เช่น รูปภาพ สไลด์ แผนที่ กระดานชอล์ก
3.      สื่อไร้มิติ ได้แก่ ภาษาพูด เสียงเพลง

การแบ่งประเภทของสื่อการสอน ตามการนำไปใช้
          Carlton W.H. Erickson and David H. Curl ได้แบ่งสื่อการเรียนการสอนในแง่ของการนำไปใช้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.      สื่อทัศนะที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ หนังสือพิมพ์ รูปภาพ ของจริง การศึกษานอกสถานที่ หุ่นจำลอง สถานการณ์จำลอง เกม วัสดุกราฟิก ป้ายนิเทศ และนิทรรศการ กระดานดำ แผ่นป้ายสำลี กระเป๋าผนัง แผ่นป้ายไฟฟ้า
2.      สื่อที่ต้องฉาย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ เทปโทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป ไมโครฟิล์ม การบันทึกเสียง

Gerlach and Ely ได้แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะทางกายภาพได้ 6 ประเภท ดังนี้
1.      ภาพนิ่ง อาจะเป็นภาพประกอบในหนังสือ ภาพประกอบป้ายนิเทศ สไลด์ หรือฟิล์มสตริป เป็นต้น
2.      วัสดุอุปกรณ์ประเภทเสียง ได้แก่การบันทึกเสียง แผ่นเสียง หรือ ระบบเสียงในฟิล์มภาพยนตร์
3.      ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์
4.      โทรทัศน์
5.      ของจริง สถานการณ์จำลอง หุ่นจำลอง
6.      บทเรียนโปรแกรมและคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

กล่าวโดยรวมๆคือ การแบ่งประเภทของสื่อการสอนนั้น ไม่ว่าจะแบ่งโดยใช้เกณฑ์ใด ก็ยังคงอ้างอิงอยู่กับลักษณะของการรับรู้ และการเรียนรู้ เป็นหลัก ไม่ว่าจะแบ่งโดยใช้มิติ หรือ ลักษณะการนำไปใช้ หรือแม้แต่รูปร่างของสื่อ สิ่งที่สำคัญของสื่อการสอนนั้น ไม่ใช่ประเภทของสื่อ แต่เป็นการออกแบบเพื่อการส่งสาร โดยต้องอาศัยการเลือกใช้ว่าจะออกแบบ และเลือกใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือใด ให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ และสภาพแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น เราคงไม่สามารถใช้สื่อประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในสถานที่ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าได้ ดังนั้น การเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และวัตถุประสงค์ของการสอน จึงมีความสำคัญสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา
ในการเลือกใช้สื่อการสอนนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความสามารถในการเลือกใช้สื่อแต่ละประเภท ให้เหมาะสม ซึ่งต้องพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่
1.      องค์ประกอบในการเลือกใช้สื่อ
1.1        จุดมุ่งหมายของการสอนและเนื้อหารายวิชา ผู้สอนจำเป็นต้องนำจุดมุ่งหมายของการสอนและเนื้อหาวิชา มาเป็นเครื่องพิจารณาเพื่อกำหนดได้ว่า ในเนื้อหาลักษณะวิชาที่จะนำมาสอนนี้ต้องการให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้หรือมีพฤติกรรมขั้นสุดท้ายเป็นเช่นไร
1.2        รูปแบบและระบบของการเรียนการสอน ซึ่งรูปแบบของการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ย่อมมีผลต่อการเลือกสื่อการเรียนการสอน เช่น การบรรยาย อภิปราย หรือการสาธิต
1.3        ลักษณะของผู้เรียน โดยต้องพิจารณาทั้ง อายุ เพศ เจตคติ ความเชื่อ พื้นฐานความรู้ ความถนัดทางการเรียน เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม
1.4        เกณฑ์เฉพาะของสื่อ ซึ่งสื่อแต่ละประเภท จะมีคุณสมบัติ และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงบทบาทของสื่อแต่ละชนิด ก่อนทำการเลือกใช้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการเรียนการสอน
1.5        วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก โดยต้องคำนึงถึงสภาพของวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่มีอยู่ในสถานที่นั้นๆ
2.      ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อ กับคุณสมบัติของสื่อ และจุดประสงค์การเรียนการสอน โดยจุดประสงค์ทางการเรียนการสอน สามารถจำแนกองค์ประกอบได้fy’ouh
2.1 ประเภทของสื่อ
2.2 คุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
2.3 จุดประสงค์ของการเรียนการสอน
          การนำเสนอสื่อการเรียนการสอนนั้นต้องประกอบไปด้วยขั้นต่างๆดังนี้
1.      กลยุทธ์ในการนำเสนอสื่อ
2.      ความสามารถในการนำเสนอสื่อขงผู้สอน
3.      การใช้สื่อการสอนในระยะต่างๆ (ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นประเมินผล)
4.      การจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการใช้สื่อการสอน
5.      การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
โดยการวางแผนการใช้สื่อ ควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆต่อไปนี้
1.      จะใช้สื่อเมื่อไหร่
2.      ใช้สื่อประเภทใด
3.      ว่างแผนใช้สื่ออย่างไร

การบำรุงรักษาสื่อนั้น มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะทุกครั้งที่มีการนำสื่อการสอนออกไปใช้ ย่อมมีโอกาสทำให้สื่อเกิดความเสียหาย ดังนั้น การบำรุงรักษาสื่อ จึงเป็นกระบวนการหนึ่งในการยืดอายุการใช้งานสื่อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกเหนือจากการซ่อมบำรุงแล้ว การบำรุงรักษาสื่อยังหมายรวมไปถึงการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของสื่อให้มีความทันสมัยอยู่เสมออีกด้วย โดยมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้
1.                          ก่อนนำสื่ออกไปใช้ ต้องตรวจสภาพของสื่อเสมอ ว่ามีการชำรุดตรงจุดใดหรือไม่ หากมี ให้ดำเนินการซ่อมแซมเพื่อมิให้สื่อเกิดความเสียหายมากขึ้นระหว่างใช้งาน
2.                          ระหว่างการใช้สื่อ ต้องใช้สื่อด้วยความระมัดระวัง อ่านวิธีการใช้สื่อให้เข้าใจก่อนการใช้งานทุกครั้ง เพื่อป้องกันการสร้างความเสียหายกับตัวสื่อ
3.                          เมื่อใช้เสร็จให้ตรวจสอบสื่อทุกครั้งว่ามีจุดเสียหาย ต้องดำเนินการซ่อมแซมหรือไม่
4.                          ในการเก็บรักษาสื่อ ต้องเก็บรักษาสื่อในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภท เช่น ไม่ควรเก็บสื่อแผนที่ ไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง และต้องมีการนำสื่ออกมาตรวจสอบสภาพเป็นระยะๆเพื่อป้องกันความเสียหายจากการเก็บรักษา


(http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=6&cad=rja&sqi=2&ved=0CFEQFjAF&url=http%3A%2F%2Fimages.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com%2Fattachment%2F0%2FR96RGAoKCEUAABb3nJI1%2F%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599.doc%3Fkey%3Dranunanetc3%3Ajournal%3A37%26nmid%3D86749820&ei=95Y7UMzRCIbprQf8y4CQCQ&usg=AFQjCNGLqcqW-D4_eYAsTmhkg33TaubTyQ&sig2=IKEI148e5GODdAewH4tO1w)

สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
                ผู้เรียนจะบรรลุจุดประสงค์การเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น   ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ  และจะต้องมีเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อนำสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ไปสู่
ผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ หรือมีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจ
        บทบาทของสื่อการสอน   คือ   สื่อจะทำให้ครูมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น เพราะมีความหลากหลาย  และน่าสนใจ  สื่อยังเป็นสิ่งที่ใช้พัฒนาผู้เรียนได้  ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์  เรียนรู้อย่างชัดเจน   และทำให้ผู้เรียนสนใจเรียนมากขึ้นด้วย
    สื่อการสอน   มี  4  ประเภท  คือ  สื่อวัสดุ   สื่ออุปกรณ์   สื่อเทคนิคหรือวิธีการ  และ สื่อคอมพิวเตอร์
การวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อการเรียนการสอน  เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน   โดยใช้โมเดล    ASSURE    ดังนี้

A : Analyze Learner Characteristic

         S : State Objectives

S : Select your methods, media and materials
         U : Utilize Media and Materials
R : Require Learner Participation
E : Evaluation and Revise

     A :    วิเคราะห์ผู้เรียน   ทำให้ผูสอนเข้าใจลักษณะของผู้เรียนทั้งลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะ

      S  : กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนการสอน  การจัดการเรียนการสอนต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ซึ่งประกอบด้วยจุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทาง และวัตถุประสงค์ที่กำหนดควรให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ทางการศึกษาทั้ง 3 ด้าน  คือ  ด้านพุทธิพิสัย  ด้านจิตพิสัย  และด้านทักษะพิสัย 
      S  :   เลือก วิธีการ สื่อหรือวัสดุ  การเลือกสื่อการเรียนการสอน การปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน

การออกแบบสื่อการเรียนการสอน   ต้องเลือกให้ตรงตามจุดมุ่งหมายของการสอนและต้องมีความหลากหลาย น่าสนใจ  เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้

        U  :     ใช้สื่อการเรียนการสอน  ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน  มีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน คือ   ทดลองใช้    เตรียมสภาพแวดล้อม  เตรียมผู้เรียน  และ การนำเสนอ 
        R  :  ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม  การใช้สื่อในการเรียนการสอน ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนให้มากที่สุด  และในขณะเดียวกันผู้สอนก็ต้องมีการเสริมแรงไปพร้อม กันด้วย 
          E  :  ประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน   การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนควรให้ครอบคลุม  ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน  ด้านคุณภาพของสื่อ  เช่น ขนาด รูปร่าง สี ความชัดเจนของสื่อ

สรุป
"ความหมายของสื่อการสอน"
เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่นหนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพแผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน รวมถึงอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้นเช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลองตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น


อ้างอิง
http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=5&group_id=23&article_id=194
เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2555
http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=5&cad=rja&sqi=2&ved=0CEgQFjAE&url=http%3A%2F%2Fimages.destruction127.multiply.multiplycontent.com%2Fattachment%2F0%2FSHrdhAoKCnsAAAspgpk1%2F%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AA%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2587.doc%3Fkey%3Ddestruction127%3Ajournal%3A8%26nmid%3D105571651&ei=95Y7UMzRCIbprQf8y4CQCQ&usg=AFQjCNHoLoK7junx6sEEp9IsReULi9LbRA&sig2=4KcuhNv9aW2qqScjTc5uog
เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2555

http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=6&cad=rja&sqi=2&ved=0CFEQFjAF&url=http%3A%2F%2Fimages.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com%2Fattachment%2F0%2FR96RGAoKCEUAABb3nJI1%2F%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599.doc%3Fkey%3Dranunanetc3%3Ajournal%3A37%26nmid%3D86749820&ei=95Y7UMzRCIbprQf8y4CQCQ&usg=AFQjCNGLqcqW-D4_eYAsTmhkg33TaubTyQ&sig2=IKEI148e5GODdAewH4tO1w
เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2555