วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

3.ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)


3.ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)


http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7%D4%A8%D1%C2%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/doc.htm  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า วรรณกรรมหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง  (related literature) หมายถึง  เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร  ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น  ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์  ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

ความสำคัญของการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง

1.     ช่วยให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงสถาพขององค์ความรู้ (state of the art) ในเรื่องที่จะทำการวิจัย  คือจะได้ทราบว่าในหัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจหรือมีข้อสงสัยใคร่หาคำตอบนั้น ได้มีผู้ศึกษาหาคำตอบได้เป็นความรู้ไว้แล้วในแง่มุมหรือประเด็นใดแล้วบ้าง  การจะศึกษาวิจัยเพื่อหาคำตอบในเรื่องนั้นต่อไปควรจะได้ทราบเสียก่อนว่าเรารู้อะไรกันแล้วบ้างเกี่ยวกับเรื่องนั้น ความรู้เหล่านั้นมีความชัดเจนเพียงใด  ยังมีข้อความรู้ที่ขัดแย้งไม่ลงรอยกันบ้างหรือไม่  ประเด็นใดที่ยังไม่มีคำตอบบ้าง  การทราบถึงสถานภาพขององค์ความรู้ในเรื่องที่จะทำวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ความรู้ใหม่ที่จะได้จากการวิจัยของตนเองนั้นจะมีความสัมพันธ์อย่างไรกับองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น จะเป็นความรู้ใหม่ที่มีคุณค่าหรือความสำคัญเพียงใด และจะเข้าไปจัดระเบียบอยู่ในองค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างผสมกลมกลืนได้อย่างไร
2.     ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำซ้อนกับผู้อื่น  การวิจัยเป็นเรื่องของการแสวงหาความรู้ใหม่  นักวิจัยไม่นิยมแสงหาความรู้เพื่อที่จะตอบปัญหาเดิมโดยไม่จำเป็น เพราะจะเป็นการเสียเวลา สิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ  สิ่งใดที่รู้แล้วมีผู้หาคำตอบไว้แล้ว นักวิจัยจะไม่ทำวิจัยเพื่อหาคำตอบในเรื่องนั้นซ้ำอีก  ดังนั้นนักวิจัยจึงพยายามหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำกับที่ผู้อื่นได้ทำไว้แล้วซึ่งถือเป็นจรรยาบรรณอย่างหนึ่งของนักวิจัย และทำให้การวิจัยนั้นด้อยคุณค่าลง  การทบทวนเอกสารวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างถี่ถ้วนและรอบคอบจะทำให้นักวิจัยได้ทราบว่าประเด็นที่ตนเองสนใจจะทำวิจัยนั้นได้มีผู้หาคำตอบไว้แล้วหรือยัง  ถ้ามีแล้วก็จะได้เลี่ยงไปศึกษาในประเด็นอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้มีผู้ศึกษาเอาไว้ต่อไป
3.     ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีแนวคิดพื้นฐานเชิงทฤษฎีในเรื่องที่จะทำการวิจัยอย่างเพียงพอ การจะทำวิจัยในเรื่องใดนั้นผู้วิจัยจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นอยู่พอสมควร โดยเฉพาะกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (Theriticalหรือ Conceptual framwork) เกี่ยวกับเรื่องนั้นจะต้องชัดเจน  สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้วิจัยกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยได้อย่างชัดเจน  สามารถกำหนดแนวทางในการศึกษาได้อย่างเหมาะสม เข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่วิจัยได้อย่างแจ่มแจ้ง
4.     ช่วยให้ผู้วิจัยได้เห็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัยของตน  จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องไม่เพียงแต่ทำให้นักวิจัยได้ทราบว่าเรื่องที่สนใจนั้นได้มีผู้วิจัยอื่นได้ค้นคว้าหาคำตอบไว้อย่างไรแล้วเท่านั้น ยังจะได้ทราบด้วยว่านักวิจัยคนอื่น ๆ เหล่านั้นได้มีวิธีการหาคำตอบเอาไว้อย่างไร  มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรในการทำวิจัยในเรื่องนั้น  คำตอบที่ได้มามีความชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงใด  คำตอบสอดคล้องหรือขัดแยังกันหรือไม่  เอกสารเชิงทฤษฎีต่าง ๆ ได้ชี้แนะแนวทางในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างไร  สารสนเทศเหล่านี้นักวิจัยจะนำมาใช้ตัดสินใจกำหนดแนวทางในการวิจัยของตนเริ่มตั้งแต่ การกำหนดประเด็นปัญหาที่เหมาะสม การกำหนดขอบเขตและข้อสันนิษฐานการวิจัยอย่างสมเหตุสมผล ออกแบบวิจัยเพื่อดำเนินการหาคำตอบซึ่งจะเกี่ยวกับการเลือกระเบียบวิธีวิจัย การเลือกตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์หรือประมวลผลข้อมูล ตลอดจนการสรุปและรายงานผลการวิจัย   นักวิจัยจะวางแผนการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาอุปสรรคที่จะทำให้งานวิจัยนั้นล้มเหลวได้  ช่วยให้โอกาสที่จะทำงานมีวิจัยนั้นให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพมีสูงขึ้น
5.     ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีหลักฐานอ้างอิงเพื่อสนับสนุนในการอภิปรายผลการวิจัย  เมื่อผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยจนได้ข้อสรุปหรือคำตอบให้กับปัญหาแล้ว  ในการรายงานผลการวิจัยผู้วิจัยจะต้องแสดงความคิดเห็นเขิงวิพากษ์วิจารณ์ผลการวิจัย  การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบถี่ถ้วนจะช่วยให้ผู้วิจัยมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการแสดงความเห็นได้อย่างสมเหตุสมผลและมีความหนักแน่นน่าเชื่อถือ
6.     ช่วยสร้างคุณภาพและมาตรฐานเชิงวิชาการให้แก่งานวิจัยนั้น  การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนั้นจะต้องประมวลมาเป็นรายงานสรุปใส่ไว้ในรายงานการวิจัย หรือเค้าโครงร่างของการวิจัย(Research proposal)ด้วย  การไปทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องมาอย่างกว้างขวางครอบคลุมในเรื่องที่ศึกษาและนำมาเรียบเรียงเอาไว้อย่างดี จะทำให้รายงานหรือโครงร่างการวิจัยนั้นมีคุณภาพและได้มาตรฐาน  เป็นการแสดงถึงศักยภาพของนักวิจัยได้ทางหนึ่งว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะทำวิจัยในเรื่องนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ  ในการพิจารณาโครงร่างการวิจัยส่วนหนึ่งที่กรรมการมักจะพิจารณาเป็นพิเศษก็คือ รายงานการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้องนี่เอง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921)%20%20%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
 อาจเรียกว่า การทบทวนวรรณกรรม ส่วนนี้เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดยจัดลำดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลำดับเวลาด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา นอกจากนี้ผู้วิจัยควรจะต้องมีการสรุปไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ทั้งส่วนที่สอดคล้องกัน ขัดแย้งกัน และส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาทั้งในแง่ประเด็น เวลา สถานที่ วิธีการศึกษาฯลฯ การเขียนส่วนนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการตั้งสมมติฐานด้วย
        หลังจากที่ผู้วิจัยได้เขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรมแล้ว ควรมีการประเมินงานเขียนเรียบเรียงนั้นอีกครั้งหนึ่ง ว่ามีความสมบูรณ์ทั้งเนื้อหา ภาษา และความต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหน สำหรับการประเมินการเขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรม Polit & Hungler (1983, อ้างใน ธวัชชัย วรพงศธร, 2538 ) ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญไว้ โดยการให้ตอบคำถามต่อไปนี้
        1    รายงานนั้นได้มีการเชื่อมโยงปัญหาที่ศึกษากับปัญหาวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งศึกษามาก่อนแล้ว
                  หรือไม่
                  1.1    รายงานนั้นได้เรียบเรียงจากแหล่งเอกสารทุติยภูมิมากเกินไปหรือไม่ ซึ่งตามความ
                  เป็นจริงแล้วควรใช้แหล่งเอกสารปฐมภูมิ (ต้นฉบับ) ให้มากที่สุด
                  1.2    รายงานได้ครอบคลุมเอกสาร ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาครบหมดหรือไม่
                  1.3    รายงานได้ครอบคลุมเอกสารใหม่ๆหรือไม่
                  1.4    รายงานได้เน้นในเรื่องความคิดเห็น หรือการบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรม
                                มากเกินไป และมีการเน้นผลการวิจัยด้านปฏิบัติจริงๆ น้อยไปหรือไม่
                  1.5    รายงานได้เรียบเรียงข้อความอย่างต่อเนื่องสมบูรณ์หรือไม่ หรือเป็นเพียงแต่ลอก
                                ข้อความจากเอกสารต้นฉบับมาเรียงต่อกันเท่านั้น
                  1.6    รายงานนั้นเป็นแต่เพียงสรุปผลการศึกษาที่ทำมาแล้วเท่านั้น หรือเป็นการเขียนใน
                                เชิงวิเคราะห์วิจารณ์ และเปรียบเทียบกับผลงานเด่นๆ ที่ศึกษามาแล้วหรือไม่
                  1.7    รายงานได้เรียบเรียงในลักษณะที่เชื่อมโยง และชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าในความ
                                คิดอย่างชัดเจนมากน้อยแค่ไหน
                  1.8    รายงานได้นำผลสรุปของงานวิจัยและข้อเสนอแนะของการนำผลการวิจัยไปใช้
                                ทั้งหมด มาเชื่อมโยงกับปัญหาที่จะศึกษามากน้อยแค่ไหน
        2    รายงานนั้นได้มีการเชื่อมโยงปัญหาที่ศึกษากับกรอบทฤษฎี หรือ กรอบแนวคิดหรือไม่
                  2.1    รายงานได้เชื่อมโยงกรอบทฤษฎีกับปัญหาที่ศึกษาอย่างเป็นธรรมชาติหรือไม่
                  2.2    รายงานได้เปิดช่องโหว่ให้เห็นถึงกรอบแนวคิดอื่นที่เหมาะสมกว่าหรือไม่
                  2.3    รายงานได้เชื่อมโยงอนุมานจากทฤษฎี หรือกรอบแนวคิดอย่างมีเหตุมีผลหรือไม่
    ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  ทบทวนเอกสารและงานวิจัย (วรรณกรรม) ที่เกี่ยวข้องการทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังจะทำการศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ
จุดมุ่งหมายของการทบทวนวรรณกรรม
1.การอ้างอิงเชิงทฤษฎี (Theoretical Reference)
2.การอ้างอิงเชิงประจักษ์ (Empirical Reference)
จุดมุ่งหมายของการทบทวน
เพื่อให้ทราบว่ามีผู้ใดเคยศึกษาหรือวิจัย มาก่อน
เพื่อให้ทราบถึงวิธีการศึกษาของผู้วิจัยอื่นๆ
เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรคที่เคยพบของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ประโยชน์ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม
- เป็นการกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้เหมาะสม จะได้ไม่กว้างหรือแคบเกินไป
- เสนอแนวคิด หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง
- ช่วยให้มีความรู้ในเรื่องที่วิจัยมากขึ้น
- ป้องกันการวิจัยที่ซ้ำซ้อนกับเรื่องที่มีผู้ทำมาก่อนแล้ว
แหล่งของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
1.หนังสือทั่วไป (General Books)
2.หนังสืออ้างอิง (Reference Book)
-สารานุกรม (Encyclopedia)
-พจนานุกรม (Dictionary)
-หนังสือรายปี (Yearbooks)
-บรรณานุกรม (Bibliographies)
-ดัชนีวารสาร (Periodical Indexes)
-นามานุกรม (Directories)
-วิทยานิพนธ์ (Thesis)
-วารสาร (Journals)
-รายงานการวิจัย (Research Report)
-เอกสารทางราชการ
-ไมโครฟิล์ม
-หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
ขั้นตอนในการทบทวนวรรณกรรม
-กำหนดขอบเขตของการทบทวนวรรณกรรม
-ค้นหาเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
-การเลือกเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-การอ่านเอกสาร
-บันทึกข้อมูล
-การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
หลักการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการอ้างอิง
อ้างอิงเชิงอรรถ (Footnote Style ) ท้ายหน้าที่อ้างอิง โดยมีชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ หรือ บทความ ปีที่พิมพ์และหมายเลขหน้า
อ้างอิงระบบ นาม – ปี (Author – Date Style) มีเฉพาะชื่อนามสกุล ปีที่พิมพ์ และหมายเลขหน้า โดยวงเล็บไว้หลังข้อความที่อ้างอิง
 http://jmk.chandra.ac.th/index.php?Subj=topic4  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
การทบทวนวรรณกรรมเป็นส่วนซึ่งเชื่อมโยงจาก หัวข้อ หลักการและเหตุผล ในแบบเสนอโครงการ นั่นหมายถึง การจะทำโครงการวิจัยนี้ (ซึ่งก็คือ โปรแกรม, ระบบ, เครื่องมือ, ฯลฯ) จะต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องใดบ้าง โดยอธิบายถึงความรู้นั้นๆ ถึงลักษณะสำคัญ และเชื่อมโยงให้ได้ว่ามีความจำเป็นต่อหัวข้อวิจัยอย่างไร อาจแบ่งเนื้อหาความรู้ที่ควรต้องมีเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
  1. ประเด็นที่ต้องการพัฒนา หรือ แก้ไขปัญหา 
  2. เครื่องมือ หรือ วิธีการที่ใช้ในการวิจัย
  3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (งานวิจัยของผู้อื่นที่มีการศึกษาในลักษณะเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน)

            สรุป
            การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  หมายถึง  การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังจะทำการศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ
แหล่งของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
1.หนังสือทั่วไป (General Books)
2.หนังสืออ้างอิง (Reference Book)
-สารานุกรม (Encyclopedia)
-พจนานุกรม (Dictionary)
-หนังสือรายปี (Yearbooks)
-บรรณานุกรม (Bibliographies)
-ดัชนีวารสาร (Periodical Indexes)
-นามานุกรม (Directories)
-วิทยานิพนธ์ (Thesis)
-วารสาร (Journals)
-รายงานการวิจัย (Research Report)
-เอกสารทางราชการ
-ไมโครฟิล์ม
-หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
ขั้นตอนในการทบทวนวรรณกรรม
-กำหนดขอบเขตของการทบทวนวรรณกรรม
-ค้นหาเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
-การเลือกเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-การอ่านเอกสาร
-บันทึกข้อมูล
-การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น


อ้างอิง
http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7%D4%A8%D1%C2%A1%
 D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/doc.htm
  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2555
               http://blog.eduzones.com/jipatar/85921)%20%20%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%B5   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2555
http://jmk.chandra.ac.th/index.php?Subj=topic4  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น