วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

18.อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข (obstacles and Strategies to solve the problems)


18.อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข (obstacles and Strategies to solve the problems)


McLean,J.(1995:91) กล่าวว่า ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการไว้หลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน
                แนวทางการแก้ไข
อ่านและศึกษาการวิจัยหลายๆตัวอย่างหรืออาจจะศึกษาโดยกรณีตัวอย่างที่เป็นห้องเรียน หรือนักเรียน อาจเปรียบเทียบชั้นเรียนในปีนี้กับชั้นเรียนปีที่แล้ว


http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7%D4%A8%D1%C2%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/%A1%D2%C3%E0%C5%D7%CD%A1%BB%D1%AD%CB%D2.html  ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า เรื่องที่จะเป็นปัญหาวิจัยนั้นจะแตกต่างจากปัญหาอื่นๆ  เนื่องจากการวิจัยเป็นการแสวงหาความรู้หรือคำตอบให้กับปัญหาวิจัย   ดังนั้นปัญหาวิจัยก็คือ สิ่งที่นักวิจัยไม่รู้และสนใจใคร่รู้คำตอบ เมื่อวิจัยแล้วจะได้ผลลัพธ์คือคำตอบของปัญหาหรือความรู้ ปัญหาเช่นนักเรียนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่ได้  ปัญหานักเรียนไม่ตั้งใจเรียน  ปัญหาครูมีหนี้สินล้นพ้นตัว เช่นนี้ไม่ใช่ปัญหาวิจัยเพราะผลลัพธ์จากการปัญหาเช่นนี้ไม่ใช่ข้อความรู้แต่จะเป็นสภาวะที่หมดปัญหา  เช่น นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้  นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น  หรือครูปลอดจากหนี้สิน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาการวิจัยได้  กล่าวคือการที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นอาจจำเป็นต้องมีความรู้อะไรบางอย่างที่เรายังไม่รู้ และความรู้นี้จะได้มาก็ต้องทำวิจัย  คำตอบหรือข้อความรู้จากการวิจัยจะใช้เป็นสารสนเทศประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหาเหล่านั้น

ปัญหาที่นักวิจัยสนใจใคร่รู้คำตอบอาจจะเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น


1.       เกิดความสงสัยในทฤษฎี  ทฤษฎีคือข้อเสนอ (Proposition) ที่เกิดจากการคิดหรือจินตนาการอย่างมีเหตุผลเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ  ความสงสัยในทฤษฎีอาจเกิดจาก
ก.       ความไม่สอดคล้องภายในทฤษฎี เช่น มีแนวคิด (concept) บางอย่างขัดแย้งกัน  ข้อเสนอไม่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน  นักวิจัยจึงต้องทำวิจัยเพื่อทำความเข้าใจกับทฤษฎีนั้นให้กระจ่างยิ่งขึ้น
ข.       ความไม่สอดคล้องกันระหว่างทฤษฎี  ปรากฏการณ์อย่างเดียวกันอาจมีทฤษฎีหรือคำอธิบายมากกว่า 1 ทฤษฎีแล้วแต่มีผู้เห็นว่าปรากฏการณ์นั้นควรจะมีคำอธิบายที่เหมาะสมเป็นอย่างไร  บางครั้งทฤษฎีเหล่านั้นก็ขัดแย้งกันทำนายปรากฏการณ์เรื่องเดียวกันออกมาแตกต่างกัน  ในกรณีเช่นคงต้องมีการหาหลักฐานข้อเท็จจริงมาดูกันให้ชัดเจนว่าทฤษฎีใดถูกทฤษฎีใดผิดหรือว่าผิดทั้งหมด  การวิจัยเพื่อตอบข้อสงสัยลักษณะนี้เรียกว่า การทดสอบเพื่อชี้ขาดทฤษฎี (Crucial test)
ค.       ความไม่สอดคล้องระหว่างทฤษฎีกับข้อเท็จจริง เกิดจากการใช้ทฤษฎีทำนายปรากฏการณ์แล้วคำนายนั้นไม่ตรงกับข้อเท็จจริง  เหตุการณ์เช่นนี้จำเป็นต้องมีการตรวจสอบให้ทราบแน่ว่าทฤษฎีมีความบกพร่องอย่างไร การวิจัยเพื่อหาคำตอบให้กับข้อสงสัยประเภทนี้จะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขทฤษฎีให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ง.        ความสงสัยว่าทฤษฎีนั้นจะสามารถอธิบายปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไปได้หรือไม่  ความสงสัยในทฤษฎีแบบนี้มักจะเกิดขึ้นในศาสตร์ทางสังคมศาสตร์  เพราะทฤษฎีทางสังคมศาสตร์มักจะสร้างขึ้นเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมในสังคมใดสังคมหนึ่ง  ความสงสัยจึงเกิดขึ้นว่าทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์ในสังคมหนึ่งได้ คือมีหลักฐานข้อเท็จจริงในสังคมนั้นยืนยันทฤษฎีอย่างเพียงพอ ทฤษฎีนั้นจะนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ในสังคมอื่นๆ ได้หรือไม่  จำเป็นต้องหาหลักฐานข้อเท็จจริงจากสังคมอื่นๆ มายืนยัน
2.     เกิดจากความขัดแย้งในข้อค้นพบ ในหัวข้อปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจมีผู้สงสัยในประเด็นต่างๆ ได้หลากหลายและได้มีผู้ทำวิจัยหาคำตอบเอาไว้  แต่แทนที่คำตอบเหล่านั้นจะสอดคล้องสนับสนุนกันกลับข้ดแย้งไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน  จึงทำให้เกิดความสงสัยว่าคำตอบที่แน่นอนควรจะเป็นอย่างไร
3.     เกิดจากความขัดแย้งกันในความคิดเห็นหาข้อยุติไม่ได้  ในแวดวงวิชาการหรือสังคมทั่วไปย่อมมีการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ  ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ความคิดเห็นเหล่านั้นเกิดไม่ลงรอยกันและต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลมาสนับสนุนความคิดของตน  แต่ส่วนใหญ่แล้วเหตุผลที่นำมาสนับสนุนก็มักเกิดจากการคิดหรือจินตนาการเอก  นักวิจัยอาจจะเกิดความสงสัยว่าความเห็นของฝ่ายใดจะน่าเชื่อถือกว่ากันจำเป็นต้องหาหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์มายืนยันเพื่อที่จะหาข้อยุติ
4.     เกิดจากความขัดข้องในการปฏิบัติงาน  เช่น การทำงานมีปัญหาอุปสรรค  ทำงานไม่สำเร็จตามเป้าหมาย  ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ   ต้องการจะพัฒนาปรับปรุงการทำงาน  การแก้ปัญหาการปฏิบัติงานเหล่านี้จำเป็นต้องมีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ  จะต้องค้นหาความรู้ที่จะใช้เป็นข้อสารสนเทศประกอบการตัดสินใจ
5.     เกิดความสงสัยว่าข้อค้นพบที่ผ่านมานั้นยังจะคงจริงเช่นนั้นอีกหรือไม่เมื่อเวลาผ่านไป หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องหาคำตอบให้แน่ชัดด้วยการหาหลักฐานข้อมูลใหม่มาพิจารณาอีกครั้ง
6.     เกิดความสงสัยในวิธีการได้มาซึ่งข้อความจากการวิจัยที่ทำมาแล้ว  อาจจะต้องตรวจสอบด้วยวิธีการใหม่ซึ่งได้แก้ไขข้อผิดพลาดของวิธีการเก่าแล้ว หรือมีเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  การทำวิจัย ต้องพยายามหลักเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัยระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่หมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้ กรณีดังกล่าว นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการในการแก้ไข อุปสรรคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อย่าให้ "ความเป็นไปได้" (feasibility) มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้   ยกตัวอย่าง เช่น ต้องการประเมินผล ของโครงการหนึ่ง ซึ่งในแง่รูปแบบ การวิจัยที่เหมาะสมแล้ว ควรใช้ "การวิจัยเชิงทดลองแบบเต็มรูป" (full experimental design) หรือการวิจัยเชิงทดลองที่แท้จริง (true experimental design) หรือ การวิจัยเชิงทดลองแบบคลาสสิค ซึ่งมีการกำหนด (assign) ให้ตัวอย่าง (sample) ไปอยู่กลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุมโดยวิธีสุ่ม แต่บังเอิญ ในทางปฏิบัติ ทำไม่ได้ เนื่องจากปัญหาทางจริยธรรม ก็อาจจำเป็นต้อง ใช้รูปแบบการวิจัย แบบกึ่งกลางการทดลอง (quas-experimetal design) โดยอาจจะ วัดก่นอ ละหลัง การมีโครงการนี้ (before and after) หรือการออกแบบ การติดตามระยะยาว (time series design) โดยมีการวัดหลาย ๆ ครั้ง ทั้งก่อน และหลัง มีโครงการนี้  หรือในการวิจัย เพื่อประเมินประสิทธิผลของยา ผู้วิจัย พยายามจะคิดค้น หามาตรการที่จะ ทำให้ทั้งคนไข้ และผู้รักษา ไม่ทราบว่า ได้รับยาอะไร ที่เรียกว่า "วิธีบอด" (double blind) เช่น การทำให้ยา เหมือนกันทุกประการ แต่ในทางปฏิบัติ บางครั้งทำไม่ได้ ผู้วิจัย จำเป็นต้องระบุ ถึงข้อจำกัดนี้ และเสนอมาตรการ ในการแก้ไข โดยเลือกตัววัด ที่เป็นปรนัย (objective outcome) ซึ่งมีความผันแปรน้อยกว่า ตัววัดที่ได้ จากการบอกเล่า (subjective outcome) และใช้ผู้วัด ที่เป็นอิสระ (independent assessor) ซึ่งไม่เกี่ยวข้อง กับการดูแล รักษาคนไข้ และไม่ทราบว่า คนไข้ อยู่ในกลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุม โดยมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ หวังว่าจะสามารถ ป้องกันอคติ อันอาจจะเกิดขึ้นจาก co-intervention ไปได้ระดับหนึ่ง


สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม (2538:6) กล่าวว่า อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
1) ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คน  สามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
2) ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
3) มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
4) นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
5) ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
แนวทางการแก้ไข 
1) กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
2) สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติเพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
3) ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
4) ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
5) มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง




สรุป :  การทำวิจัย ต้องพยายามหลักเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัยระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่หมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้ กรณีดังกล่าว นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการในการแก้ไข อุปสรรคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อย่าให้ "ความเป็นไปได้" (feasibility) มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้  ยกตัวอย่าง เช่น ต้องการประเมินผล ของโครงการหนึ่ง ซึ่งในแง่รูปแบบ การวิจัยที่เหมาะสมแล้ว ควรใช้ "การวิจัยเชิงทดลองแบบเต็มรูป" (full experimental design) หรือการวิจัยเชิงทดลองที่แท้จริง (true experimental design) หรือ การวิจัยเชิงทดลองแบบคลาสสิค ซึ่งมีการกำหนด (assign)ให้ตัวอย่าง (sample) ไปอยู่กลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุมโดยวิธีสุ่ม แต่บังเอิญ ในทางปฏิบัติ ทำไม่ได้ เนื่องจากปัญหาทางจริยธรรม ก็อาจจำเป็นต้อง ใช้รูปแบบการวิจัย แบบกึ่งกลางการทดลอง (quas-experimetal design) โดยอาจจะ วัดก่นอ ละหลัง การมีโครงการนี้ (before and after) หรือการออกแบบ การติดตามระยะยาว (time series design) โดยมีการวัดหลาย ๆ ครั้ง ทั้งก่อน และหลัง มีโครงการนี้  หรือในการวิจัย เพื่อประเมินประสิทธิผลของยา ผู้วิจัย พยายามจะคิดค้น หามาตรการที่จะ ทำให้ทั้งคนไข้ และผู้รักษา ไม่ทราบว่า ได้รับยาอะไร ที่เรียกว่า "วิธีบอด" (double blind) เช่น การทำให้ยา เหมือนกันทุกประการ แต่ในทางปฏิบัติ บางครั้งทำไม่ได้ ผู้วิจัย จำเป็นต้องระบุ ถึงข้อจำกัดนี้ และเสนอมาตรการ ในการแก้ไข โดยเลือกตัววัด ที่เป็นปรนัย (objective outcome) ซึ่งมีความผันแปรน้อยกว่า ตัววัดที่ได้ จากการบอกเล่า (subjective outcome) และใช้ผู้วัด ที่เป็นอิสระ (independent assessor) ซึ่งไม่เกี่ยวข้อง กับการดูแล รักษาคนไข้ และไม่ทราบว่า คนไข้ อยู่ในกลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุม โดยมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ หวังว่าจะสามารถ ป้องกันอคติ อันอาจจะเกิดขึ้นจาก co-intervention ไปได้ระดับหนึ่ง


อ้างอิง :
สุวิมล ว่องวาณิช.(2544).การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์    ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย.    เข้าถึงเมื่อเมื่อ 29 ธันวาคม 2555
http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7%D4%A8%D1%C2%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/%A1%D2%C3%E0%C5%D7%CD%A1%BB%D1%AD%CB%D2.html เข้าถึงเมื่อเมื่อ 29 ธันวาคม 2555
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม.(2538).หลักการ แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน.  เส้นทางสู้การวิจัยในชั้นเรียน.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ บริษัท บพิธการพิมพ์.    เข้าถึงเมื่อเมื่อ 29 ธันวาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น