วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

16.ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation)/ขอบเขตการวิจัย


16.ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation)/ขอบเขตการวิจัย


                มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์ (2545:222) กล่าวว่า ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการเขียนอธิบายว่าการวิจัยนี้มีข้อจำกัดอะไรที่ทำให้การศึกษาอาจไม่สมบูรณ์ได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความรู้ของผู้วิจัยที่มีเกี่ยวกับหัวเรื่องที่ต้องการจะทำการศึกษา

จำเรียง  กูรมะสุวรรณ (2529:162) กล่าวว่า ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย 
                
        http://w7.thaiwebwizard.com/member/poopla/images/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%89...html  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  การวิจัยแต่ละเรื่องมีขอบเขตมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับงบประมาณและระยะเวลาที่จะทำการวิจัย การกำหนดขอบเขตของการวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยวางแผนการเก็บข้อมูลได้ครอบคลุมและตรงกับความมุ่งหมายของการวิจัยที่ตั้งไว้
ขอบเขตของการวิจัยที่สำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนด มีดังนี้ 

                (1)   ประชากรการวิจัย  หรือกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นใคร  มากน้อยเพียงใด  มีลักษณะพิเศษอย่างไรหรือไม่
                       (2)  ตัวแปรในการวิจัย  ให้แยกเป็นตัวแปรต้น  ตัวแปรตาม  มีอะไรบ้า
                       (3)  การเก็บรวบรวมข้อมูล  เก็บข้อมูลโดยวิธีใด  เวลาใด มีเหตุผลประกอบอะไรบ้าง
                       (4)  เนื้อหาสาระที่ศึกษา

ตัวอย่างการเขียนขอบเขตของการวิจัยที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการวิจัย
         ตัวอย่างที่1 เรื่อง เจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนธุรกิจ สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 5
         ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนธุรกิจในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร และกาญจนบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 4,255 คน
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนธุรกิจในโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 สุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random Sampling) มีขนาดโรงเรียนเป็นชั้นและมีโรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4 โรงเรียน มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 451 คน
          ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อาชีพผู้ปกครอง รายได้ของครอบครัว การมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้าน 
ตัวแปรตาม ได้แก่ เจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ใน 3 ด้าน คือ ด้านคุณประโยชน์ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรม


 สรุป
          1. ขอบเขตการวิจัยที่ต้องกำหนด
            1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
                    ลักษณะของประชากร
                    จำนวนประชากร (ถ้าหาได้)
            1.2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย
                    ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย
                    วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมาย
            1.3 ตัวแปรที่ศึกษา
                  1.3.1  ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นเหตุ
                  1.3.2  ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นผล
          2. ขอบเขตเพิ่มเติม (กรณีงานวิจัยเชิงทดลอง)
                ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
                ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง

อ้างอิง :        
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช(2545),บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์.สถิติ 
และการ วิจัยทางสังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่1)นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จำเรียง  กูรมะสุวรรณ.  สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.  กรุงเทพฯ:สามเจริญพา                     http://w7.thaiwebwizard.com/member/poopla/images/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%89...htm  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 27  ธันวาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น